a | c | e | f | g | l | m | q | s | v | w |  |  |  |  |  |  | 

เกษตรปลอดสารพิษ

เป็นชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการของระบบการเกษตรทั่วไปในประเทศไทย ที่มีการควบคุมการใช้สารเคมีการเกษตรให้เป็นไปตามหลักการ ที่เชื่อกันว่า ผลผลิตจะมีความปลอดภัยต่อการบริโภค โดยจะให้ความสำคัญกับการไม่ใช่สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีการตกค้างนาน และจะต้องเว้นระยะในการใช้สารเคมีการเกษตรก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต

ชื่ออย่างเป็นทางการ คือ “เกษตรดีที่เหมาะสม” หรือ Good Agriculture Practice  แต่ก็อาจมีการเรียกชื่อที่ไม่เป็นทางการอื่นๆ เช่น ผักอนามัย ผลไม้อนามัย ผักปลอดภัยจากสารพิษ เป็นต้น

ปุ๋ยชีวภาพ

ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบหลักที่เป็นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในการให้ธาตุอาหารต่อพืช เช่น ไรโซเบียมที่ใช้กับพืชตระกูลถั่ว เพื่อตรึงไนโตรเจนจากบรรยากาศ หรือปุ๋ยที่มีเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้ธาตุฟอสเฟตในดินอยู่ในรูปที่รากพืชสามารถนำไปใช้ได้สะดวกขึ้น

ปุ๋ยอินทรีย์ทุกชนินจะมีจุลินทรีย์อยู่ แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นปุ๋ยชีวภาพ  และในขณะเดียวกันปุ๋ยชีวภาพก็อาจมีอินทรียวัตถุผสมอยู่ แต่สิ่งที่ออกฤทธิ์ในการให้ประโยชน์กับพืช ไม่ใช่อินทรียวัตถุ แต่เป็นจุลินทรีย์

ปุ๋ยชีวภาพ [bio-fertilizer]

ปุ๋ยชีวภาพหมายถึง สารที่มีจุลทรีย์ที่มีชีวิต ซึ่งเมื่อใช้กับคลุกกับเมล็ดพืช ดิน หรือต้นพืช จุลินทรีย์จะไปอาศัยอยู่บริเวณรากพืชหรือในต้นพืช ซึ่งช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้กับพืช จากการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ การทำให้ฟอสเฟตในดินละลายน้ำได้เพิ่มขึ้น หรือกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช  ปุ๋ยชีวภาพแตกต่างจากจุลินทรีย์การเกษตรที่ใช้กันทั่วไป เพราะจุลินทรีย์ที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุเป็นหลัก  ปุ๋ยชีวภาพที่รู้จักดีได้แก่ ไรโซเบียม (Rhizobium) อะโซโตแบคเตอร์ (Azotobacter) อะโซสไปริลลัม (Azospirillum) และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (blue green algae)

season [ฤดูกาล]

โดยทั่วไป สภาพอากาศที่แตกต่างกันเกิดขึ้นจากอิทธิพลของแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบมายังพื้นโลกในแต่ละวันไม่เท่ากัน เนื่องจากโลกมีการหมุนรอบตัวเอง

ในขณะเดียวกัน โลกก็หมุนรอบดวงอาทิตย์ด้วย โดยโลกจะหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงรี ใช้เวลาในการหมุนแต่ละรอบประมาณ 365 วัน เพราะวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ที่เป็นวงรีนี้เองที่ทำให้บางช่วงเวลาในปีหนึ่งๆ ที่โลกจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากเป็นพิเศษ และบางช่วงที่อยู่ห่างจากพระอาทิตย์มากเป็นพิเศษ  ในเขตซีกโลกเหนือ โลกจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไกลที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม ซึ่งทำให้ซีกโลกเหนือมีอากาศเย็น และมีช่วงกลางวันสั้น  เมื่อโลกโคจรต่อไป (โคจรทวนเข็มนาฬิกา) เขตซีกโลกเหนือก็จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น ดวงอาทิตย์เริ่มขึ้นสูงกลางท้องฟ้ามากขึ้น กลางวันยาวนานขึ้น  ในวันที่ 21 มีนาคม (ซึ่งเรียกกันว่า วันอีควิน็อกซ์ฤดูใบไม้ผลิ – spring equinox day) เป็นวันที่มีช่วงเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน  หลังจากนั้น ช่วงกลางวันจะเริ่มนานกว่ากลางคืน จนถึงวันที่ 21 มิถุนายน (วันโซลส์ติสฤดูร้อน – solstice day) ซึ่งเป็นวันที่พระอาทิตย์ขึ้นสูงกลางฟ้าที่สุด (โดยเฉพาะในเขตขั้วโลกเหนือ จะเป็นวันที่มีช่วงกลางวันตลอด 24 ชั่วโมงเลย)  หลังจากนี้ โลกจะเริ่มถอยห่างจากดวงอาทิตย์ ทำให้กลางวันสั้นลงและกลางคืนยาวขึ้น จนช่วงกลางวันและกลางคืนเท่ากันอีกในวันที่ 21 กันยายน (หรือวันอีควิน็อกศ์ฤดูใบไม้ร่วง) และเข้าสู่ฤดูหนาวที่กลางคืนนานกว่ากลางวัน จนถึงวันที่ 21 ธันวาคม (วันโซลส์ติสฤดูหนาว) ที่กลางคืนนานที่สุด  สำหรับซีกโลกใต้ ฤดูกาลจะกลับตาลปัตร ตรงกันข้ามกันกับที่เกิดขึ้นในซีกโลกเหนือ

climate [ภูมิอากาศ]

ภูมิอากาศ คือ ลักษณะเงื่อนไขของบรรยากาศ ที่อยู่บริเวณใกล้ผิวโลก ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ซึ่งได้จากการเฉลี่ยข้อมูลสภาพอากาศระยะยาว (หลายทศวรรษ แต่ในวงการอุตุนิยมวิทยาจะใช้ค่าเฉลี่ย 30 ปี)  โดยปกติเมื่อกล่าวถึงภูมิอากาศ จะระบุขอบเขตของพื้นที่ เช่น ภูมิอากาศตามละติจูด (latitudinal climates) ภูมิอากาศของภูมิภาค (regional climate) และภูมิอากาศท้องถิ่น

ในแต่ละพื้นที่ รูปแบบของภูมิอากาศจะแตกต่างกัน โดยมีตัวชี้วัดของสภาพอากาศที่สำคัญ ได้แก่ ปริมาณฝนเฉลี่ยรายเดือน อุณภูมิสูง-ต่ำรายวัน ความชื้น จำนวนชั่วโมงที่มีแสงแดด การปกคลุมของเมฆ ความเร็วลม ทิศทางลม พลังงานแสงอาทิตย์ และลมพายุ

โดยทั่วไป การแบ่งโซนภูมิอากาศของโลก จะใช้เส้นละติจูด (ซึ่งเป็นเส้นตัดขวางแนวนอนรอบโลก) เป็นแนวในการแบ่ง โดยใช้เส้นละติจูด 4 เส้น (ไม่นับรวมเส้นศูนย์สูตรตรงกลาง) คือเส้นทรอปปิค (Tropic) ซึ่งเป็นเส้นละติจูดที่ 23.5° และ 66.5° เหนือและใต้ของเส้นศูนย์สูตร

เส้นละติจูดสองเส้นบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรคือเส้น “ทรอปิคออฟแคนเซอร์” (Tropic of Cancer) ที่อยู่ทางตอนเหนือ และเส้น “ทรอปิคออกแคปริคอร์น” (Tropic of Capricorn) ที่อยู่ทางใต้ ซึ่งเส้นทรอบิคนี้เป็นระดับสูง-ต่ำสุดที่พระอาทิตย์อาจขยับขึ้นเหนือหรือลงใต้ได้  ในส่วนปลาย บริเวณใกล้กับขั้วโลกเหนือ-ใต้ ที่ละติจูด 66.5° เหนือและใต้ จะใช้เส้น “อาร์คติดเซอร์เคิล” (Arctic Circle) และ “แอนตาร์คติดเซอร์เคิล” (Antarctic Circle) ตามลำดับ เป็นแนวแบ่งโซนภูมิอากาศ

นอกเหนือจากระยะห่างจากเส้นศูนย์สูตรแล้ว ภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ยังได้รับอิทธิพลจาระดับความสูงต่ำของพื้นที่ ระยะห่างจากทะเล และปัจจัยทางภูมิศาสตร์อื่นๆ ทำให้ลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกันไป  โดยทั่วไป มีการแบ่งภูมิอากาศออกเป็น 10 โซน คือ

1. เขตภูมิอากาศร้อนชื้น Tropical Climates ฝนตกมากตลอดทั้งปี อุณหภูมิสูงทั้งปี บรรยากาศมีความชื้นสูง มีช่วงฤดูแล้งสั้นๆ
2. เขตภูมิอากาศกึ่งร้อนชื้น Subtropical Climates อุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าเขตภูมิอากาศร้อนชื้น มีช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งที่ชัดเจน และนานเท่าๆ กัน
3. เขตภูมิอากาศแห้งแล้ง Arid Climates มีฝนตกค่อนข้างน้อยตลอด อุณหภูมิต่างกันมากในช่วงกลางวัน-กลางคืน และในแต่ช่วงฤดูร้อน-ฤดูหนาว
4. เขตภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้ง Semi-arid Climates คล้ายกับภูมิอากาศแห้งแล้ง แต่รุนแรงน้อยกว่า  มีปริมาณฝนตกมากกว่า และอุณหภูมิในแต่ละฤดูกาลผันผวนน้อยกว่า
5. เขตภูมิอากาศเมดิเตอร์เรเนียน Mediterranean Climates ในช่วงฤดูร้อน อากาศจะร้อนและแห้ง แต่ในช่วงฤดูหนาวจะมีอากาศเย็นและชื้น
6. เขตภูมิอากาศอบอุ่น Temperate Climates มีฝนตกเฉลี่ยใกล้เคียงกันตลอดปี และมี 4 ฤดูกาลอย่างชัดเจน โดยมีอากาศร้อนในฤดูร้อนและหนาวเย็นในช่วงฤดูหนาว และมีหิมะตกด้วย
7. เขตภูมิอากาศอบอุ่นทางเหนือ Northern Temperate Climates คล้ายกับเขตภูมิอากาศอบอุ่น แต่ฤดูหนาวยาวนานกว่ามาก อาจนานถึง 9 เดือน และปริมาณหิมะตกสูงว่ามาก
8. เขตภูมิอากาศภูเขาสูง Mountain Climates อุณหภูมิค่อนข้างต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับที่ราบที่อยู่บริเวณใกล้กัน  มีหิมะตกเป็นประจำ
9. เขตภูมิอากาศขั้วโลก Polar Climates ช่วงฤดูหนาวจะหนาวจัดและกินเวลานานมาก ส่วนฤดูร้อน อากาศอุ่นขึ้นเล็กน้อย  มีหิมะตกบ่อย ส่วนฝนมีน้อยมาก
10. เขตภูมิอากาศชายฝั่งทะเล Coastal Climates อุณหภูมิไม่ต่างกันตลอดทั้งปี ส่วนสภาพอากาศอาจต่างกันตามสภาพของอุณหภูมิของแผ่นดิน-มหาสมุทรบริเวณนั้น

ฤดูกาลของประเทศไทย

จากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา (2537) อธิบายเกี่ยวกับฤดูกาลในประเทศไทยได้ดังนี้  เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของมรสุม จึงทำให้ประเทศไทยมีฤดูกาลที่เด่นชัด 2 ฤดู คือ ฤดูฝนกับฤดูแล้ง (Wet and Dry Seasons) สลับกัน และสำหรับฤดูแล้งนั้น ถ้าพิจารณาให้ละเอียดลงไปสามารถแยกออกได้เป็น 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนกับฤดูหนาว ดังนั้นฤดูกาลของประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้ทั้งหมดสามฤดู คือ

1. ฤดูร้อน เริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่เปลี่ยนจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (หรือที่เปลี่ยนจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูฝน) เป็นระยะที่ขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์โดยเฉพาะในเดือนเมษายนประเทศไทยจะเป็นประเทศหนึ่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ลำแสงของดวงอาทิตย์จะตั้งฉากกับพื้นผิวโลกจึงทำให้ได้รับแสงอาทิตย์อย่างเต็มที่ ในฤดูนี้แม้ว่าประเทศไทยจะมีอากาศร้อนและแห้งแล้งแต่ในบางครั้งอาจมีมวลอากาศเย็นจากประเทสจีนแผ่ลงมาถึงประเทศไทยตอนบนได้ ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างมวลอากาศเย็นที่แผ่ลงมากับมวลอากาศร้อนที่ปกคลุมอยู่เหนือประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกลงมาด้วย ก่อให้เกิดความเสียหายได้ พายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในฤดูนี้มักเรียกว่า “พายุฤดูร้อน”

2. ฤดูฝน เริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ถึงประมาณกลางเดือนตุลาคม ฤดูนี้จะเริ่มเมือมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นลมชื้นพัดปกคลุมประเทศไทย ขณะที่ร่องความกดอากาศต่ำ (แนวร่องที่ก่ให้เกิดฝน) พาดผ่านประเทศไทยทำให้มีฝนชุกทั่วไป ร่องความกดอากาศต่ำนี้ปกติจะเริ่มพาดผ่านภาคใต้ในเดือนเมษายน แล้วจึงเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออก ภาคเหนือและอีสาน ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ตามลำดับ ประมาณปลายเดือนมิถุนายนจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณประเทศจีนตอนใต้ ทำให้ฝนในประเทศไทยลดลงระยะหนึ่งและเรียกว่าเป็น “ช่วงฝนทิ้ง” ซึ่งอาจนานประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ หรือ บางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือนได้ ประมาณเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน ร่องความกดอากาศต่ำจะเลือนกลับลงมาทางใต้พาดผ่านบริเวณประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง โดยจะพาดผ่านตามลำดับ จากภาคเหนือลงไปภาคใต้ ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวประเทศไทยจะมีฝนชุกต่อเนื่อง โดยประเทศไทยตอนบนจะตกชุกช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน และภาคใต้จะตกชุกช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ประมาณกลางเดือนตุลาคม มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นลมหนาวจะเริ่มพัดเข้ามาปกคลุม ประเทศไทยแทนที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นสัญญาณว่า ได้เริ่มฤดูหนาวของประเทศไทยตอนบนแล้ว ยกเว้นทางภาคใต้ จะยังคงมีฝนตกชุกต่อไปเรื่อยๆ จนถึงเดือนธันวาคม ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัดลงมาจากประเทศจีน จะพัดผ่านทะเลจีนใต้และอ่าวไทย ก่อนลงไปถึงภาคใต้ ซึ่งจะนำความชื้นลงไปด้วย เมื่อถึงภาคใต้ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก จึงก่อให้เกิดฝนตกชุก

3. ฤดูหนาว เริ่มประมาณกลางเดืนอตุลาคมถึงประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มพัดปกคลุมประเทศไทยประมาณกลางเดือนตุลคม ซึ่งจะนำความหนาวเย็นมาสู่ประเทศไทยเป็นระยะที่ขั้วโลกใต้หันเข้าหาดวงอาทิข์ ตำแหน่งลำแสงของดวงอาทิตย์ทำมุมฉากกับผิวพื้นโลกขณะเที่ยงวันจะอยู่ทางซีกโลกใต้ ทำให้ลำแสงที่ตกกระทบกับพื้นที่ในประเทศไทยเป็นลำแสงเฉียงตลอดเวลา

ลมมรสุม
ในบางเขตพื้นที่ จะมีช่วงฤดูที่มีลมประจำฤดู ที่เกิดขึ้นเฉพาะท้องถิ่นหนึ่งๆ และเป็นลมที่พัดตลอดฤดูเป็นระยะเวลาแน่นอนของทุกปี หรือเรียกกันว่า ลมมรสุม  โดยปกติ ลมมรสุมจะมี 2 ฤดู คือ
1. ลมมรสุมฤดูร้อน ซึ่งเป็นลมพัดจากทะเลเข้าสู่พื้นดิน เกิดขึ้นในฤดูร้อน ลมมรสุมฤดูร้อนจะนำความชุ่มชื้นหรือฝนจากทะเลมาสู่แผ่นดิน  ในทวีปเอเชียและประเทศไทย เรียกว่า ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ โดยจะพัดอยู่นาน 6 เดือน คือ ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน
2. ลมมรสุมฤดูหนาว เป็นลมพัดจากใจกลางทวีปที่มีความกดอากาศสูงไปสู่ทะเลหรือบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ เป็นลมที่นำความหนาวเย็นและความแห้งแล้ง เรียกว่า ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดอยู่นาน 6 เดือน คือ ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม

สภาพอากาศ (Weather)

สภาพอากาศ หรือบางครั้งก็เรียก สภาพลมฟ้าอากาศ ซึ่งหมายถึง การเปลี่ยนแปลงของสภาพเงื่อนไขบรรยากาศในแต่ละวัน ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ซึ่งการเปลี่ยนแลงเหล่านี้จะถูกวัดและบันทึกโดยสถาบันอุตุนิยมวิทยา เช่น อุณหภูมิ ความกดอากาศ ความชื้น ลม ฝน เมฆ หมอก   ทัศนวิสัย และหยาดน้ำฟ้า (ได้แก่ ฝน หิมะและลูกเห็บ)

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์และชั้นบรรยากาศของโลก คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสภาพอากาศต่างๆ ทั้งหมดบนโลก โดยมีจุดตั้งต้นจากพลังงานความร้อนจากแสงพระอาทิตย์  พลังงานความร้อนที่ส่งมายังโลก ในขณะที่โลกเราหมุนรอบตัวเอง (แกนโลกจะทำมุมประมาณ 23.5 องศา) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปพร้อมกัน ทำให้ส่วนต่างๆ บนผิวโลกได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์มากน้อยต่างกันไป โดยพื้นที่ใกล้เส้นศูนย์สูตรจะได้รับปริมาณรังสีจากดวงอาทิตย์มากกว่าพื้นที่ที่อยู่บริเวณขั้วโลก  นอกจากได้รับความร้อนต่างกันแล้ว ผิวโลกแต่ละส่วนมีความสามารถในการดูดซับความร้อนได้ต่างกันด้วย โดยส่วนที่เป็นพื้นดินจะเก็บความร้อนได้ดีกว่าส่วนที่เป็นผิวน้ำ ทำให้มวลอากาศที่บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิต่างกันไป

มวลอากาศบริเวณที่ได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์มากย่อมมีอุณหภูมิสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของมวลอากาศ เกิดแรงกดอากาศต่ำ มวลอากาศร้อนนี้จะลอยตัวขึ้นสู่บรรยากาศชั้นบน และเคลื่อนที่ไปหามวลอากาศที่เย็นกว่า ในขณะที่มวลอากาศเย็นกว่าจะเกิดการหดตัว เคลื่อนที่ลงสู่พื้นดิน เกิดเป็นแรงกดอากาศสูง และไหลไปสู่บริเวณที่มีแรงกดอากาศต่ำ เกิดเป็นลมขึ้น

นอกจากนี้ บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีมวลอากาศมีความร้อนอยู่มาก ก็จะมีความชื้นและไอน้ำในอากาศมากด้วย  ดังนั้น บริเวณนี้จึงมีเมฆและโอกาสในการเกิดฝนตกมากด้วย ในขณะที่บริเวณที่มีความกดอากาศสูง จะเป็นบริเวณที่มวลอากาศเย็น มีความชื้นและไอน้ำต่ำ เมฆหมอกก็จมีน้อยตามไปด้วย

กระแสลมโลก (Global Wind Patterns)

ลม คือ อากาศที่เคลื่อนที่จากบริเวณที่ที่มีความกดอากาศสูงไปยังบริเวณที่ที่มีความกดอากาศต่ำ  บริเวณเขตเส้นศูนย์สูตรเป็นเขตที่ได้รับแสงอาทิตย์ตลอดทั้งปี อากาศจึงมีอุณหภูมิสูง  อากาศที่ร้อนนี้จะลอยตัวสูงขึ้นไปจนถึงด้านบนของชั้นบรรยากาศโทรโปสเฟียร์ ซึ่งอากาศจะลอยเกินระดับนี้ไม่ได้ อากาศร้อนนี้จึงกระจายตัวออก เคลื่อนที่ไปยังเขตขั้วโลกทั้งสองด้าน ปะทะกับอากาศที่เย็นกว่า ทำให้อุณหภูมิเริ่มลดลง เมื่อถึงเขตละติจูด 30° ทางตอนเหนือและใต้ของเส้นศูนย์สูตร อากาศที่เย็นตัวก็จะจมลงกลับสู่ผิวโลก (ทำให้เกิดแรงกดอากาศเพิ่มขึ้น)  อากาศนี้จะมีความชื้นต่ำ ทำให้สภาพอากาศในบริเวณนั้นแห้งและปลอดโปร่ง  พื้นที่ทะเลทรายส่วนใหญ่ของโลกจะตั้งอยู่ในบริเวณที่ที่มีความกดอากาศสูงนี้

อากาศเย็นที่บริเวณเส้นละติจูด 30° เหนือและใต้ ที่ถูกแรงดันของอากาศที่จมตัวลงจนด้านบน ผลักดันให้ไหลไปยังบริเวณที่มีแรงกดอากาศต่ำ บริเวณเส้นศูนย์สูตร เกิดเป็นกระแสลมที่เรียกกันว่า ลมสินค้า หรือลมค้า (trade winds)  ลมสินค้านี้จะพัดไปเรื่อยๆ จนถึงบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร ก่อนที่จะหมดกำลังลง จึงทำให้เกิดเขตลมสงบ หรือลมอ่อน (doldrums)

กระแสลมอีกชุดหนึ่งเกิดจากอากาศเย็นตัวที่จมลงกลับสู่ผิวโลกที่บริเวณเส้นละติจูด 30° เหนือและใต้ แต่แทนที่จะทำที่จะไหลกลับไปที่เส้นศูนย์สูตร (ที่ทำให้เกิดลมสินค้า ที่ได้กล่าวข้างต้น) อากาศบางส่วนจะเคลื่อนที่ต่อไปยังทางขั้วโลกเหนือและใต้ จนปะทะกับอากาศเย็นจากขั้วโลก ที่บริเวณเส้นละติจูด 60° เหนือและใต้ ซึ่งเรียกบริเวณดังกล่าวว่า แนวปะทะขั้วโลก (polar fronts)  การปะทะกันของมวลอากาศที่มีอุณหภูมิต่างกัน จะทำให้มวลอากาศร้อนลอยตัวขึ้นอีกครั้ง และไหลย้อนกลับไปทางเส้นศูนย์สูตร ก่อนที่จะจมตัวลงที่บริเวณเส้นละติจูด 30° เหนือและใต้อีกครั้งหนึ่ง ก่อให้เกิดความกดอากาศสูงที่บริเวณดังกล่าวเพิ่มขึ้น

กระแสลมที่สามคือ ลมร้อนที่บริเวณแนวปะทะขั้วโลกที่ลอยตัวสูงขึ้น แล้วเคลื่อนต่อไปยังเขตขั้วโลกเหนือและใต้ เมื่อปะทะกับอากาสเย็นที่ขั้วโลก อากาศก็จะเย็นตัวและจมลง แล้วไหลกลับไปยังบริเวณเส้นละติจูด 60° เหนือและใต้

ทางด้านบนของชั้นบรรยากาศ (ราว 9,000 – 10,500 เมตรจากผิวดิน) อุณหภูมิและแรงกดดันของอากาศในที่ต่างๆ ของผิวโลก ทำให้มีกระแสลมที่เรียกกันว่า ลมเจ็ทสตรีม (jet streams) ซึ่งมีความเร็วสูงถึง 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งกระแสลมเจ็ทสตรีมนี้อาจมีผลทำให้แรงดันอากาศบริเวณที่มีแรงกดอากาศต่ำเพิ่มขึ้นได้ โดยในช่วงฤดูหนาว ซึ่งอุณหภูมิมีความต่างกันมาก ลมเจ็ทสตรีมจะไหลเร็ว และขยับตัวไปทางเส้นศูนย์สูตร ในขณะที่ช่วงฤดูร้อน ที่อุณหภูมิต่างกันน้อย ลมเจ็ทสตรีมจะไหลเอื่อยลง และขยับตัวไปทางขั้วโลกมากขึ้น

บรรยากาศ (Atmosphere)

โลกถูกห่อหุ้มบางๆ ด้วยชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกไว้ ซึ่งบรรยากาศนี้มีอากาศอยู่เบาบางมาก  ถ้าเราอยู่บนเครื่องบินที่มีความสูง 9,000 เมตรจากพื้นดิน (ระดับการบินปกติของเครื่องบินโดยสาร) มากกว่า 1 ใน 3 ของโมเลกุลอากาศ จะอยู่ข้างใต้เครื่องบินที่เรานั่งอยู่

ชั้นบรรยากาศของโลกประกอบไปด้วยก๊าซต่างๆ ไอน้ำ และฝุ่นขนาดเล็ก ซึ่งไอน้ำสามารถเปลี่ยนรูปเป็นของเหลว (น้ำ) และของแข็ง (น้ำแข็ง) สลับกลับไปกลับมาได้

ส่วนที่สำคัญที่สุดของบรรยากาศก็คือ กลุ่มก๊าซต่างๆ  ก๊าซที่ห่อหุ้มโลกเอาไว้นี่เองที่ทำให้สิ่งมีชีวิตต่างๆ บนโลกสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยก๊าซที่สำคัญประกอบด้วย

  • ก๊าซออกซิเจน เป็นก๊าซที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก มีสัดส่วนราว 21%
  • ก๊าซไนโตรเจน 78%
  • ก๊าซอื่นๆ คิดเป็น 1%

ในชั้นบรรยากาศยังประกอบไปด้วยไอน้ำและละอองความชื้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของกำลังลมและพายุ รวมไปถึงรูปแบบของสภาพภูมิอากาศในลักษณะต่างๆ

ชั้นบรรยากาศช่วยปกป้องโลกจากความร้อนของรังสีดวงอาทิตย์ ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต แต่ชั้นบรรยากาศนี้เบาบางมาก  ถ้าเปรียบโลกของเราขนาดเท่ากับบอลลูน ชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกจึงมีขนาดเทียบได้กับความหนาของพลาสติกที่ห่อหุ้มลูกบอลลูนเท่านั้น  เราสามารถแบ่งชั้นบรรยากาศของโลกออกเป็น 5 ชั้น คือ

  1. ชั้นโทรโปสเฟียร์ (Troposphere) ครอบคลุมพื้นผิวโลกเป็นระยะ 8 – 16 กิโลเมตรจากพื้นดิน ซึ่งปรากฏการณ์สภาพอากาศ 99% เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศนี้ (ที่จริงแล้วชั้นบรรยากาศอื่นก็มีผลต่อสภาพอากาศบนโลกได้ด้วยเช่นกัน)
  2. ชั้นสตาร์โตสเฟียร์ (Stratosphere) อยู่ถัดจากชั้นโทรโปสเฟียร์ขึ้นไปอีก 10 กิโลเมตรหรือ ที่ระยะ 50 กิโลเมตร เหนือพื้นผิวโลก อุณหภูมิในชั้นนี้จะลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึง 4°C  ในชั้นนี้จะมีชั้นโอโซน (Ozone layer) อยู่ ในระยะประมาณ 24 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน  ชั้นโอโซนจะเป็นตัวช่วยดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ไว้ ทำให้มีรังสีอัตราไวโอเลตส่องลงมากระทบผิวโลกเพียงเล็กน้อ  รังสีอัลตราไวโอเลตมีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนังของมนุษย์
  3. ชั้นเมโสสเฟียร์ (Mesosphere) ซึ่งครอบคลุมระยะเหนือพื้นดินที่ 50 – 80 กิโลเมตร  บริเวณชั้นบรรยากาศนี้ อุณหภูมิจะลดลงต่ำถึง -90°C  อุณหภูมิจะหยุดลดลง และคงที่ที่จุดเมโสพอส (mesopause)
  4. ชั้นเทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere) หรือ เรียกอีกอย่างว่า ไอโอโนสเฟียร์ (Ionosphere) ในชั้นนี้อุณหภูมิจะสูงขึ้นเป็นลำดับจนถึง 1480°C ภายใต้สภาวะปกติ  บรรยากาศในชั้นนี้ช่วยปกป้องโลกจากสะเก็ดดาวต่างๆ เพราะสะเก็ดดาวจะถูกเผาไหม้ก่อนที่จะพุ่งตกมายังโลก  ในชั้นบรรยากาศนี้จะมีคลื่นวิทยุอยู่ด้วย
  5. ชั้นเอ๊กโซสเฟียร์ (Exosphere) ในชั้นนี้ประกอบไปด้วยก๊าซหลายชนิด เช่น ฮีเลียม ไนโตรเจน อ๊อกซิเจนและอาร์กอน แต่ก๊าซเหล่านี้มีอยู่เพียงเล็กน้อย เพราะว่ามีแรงโน้มถ่วงต่ำมาก จึงทำให้โมเลกุลของก๊าซเคลื่อนที่ออกไปยังห้วงอวกาศภายนอกได้ง่าย อุณหภูมิในชั้นนี้จะอยู่ในช่วง 300°C ถึง 1650°C

พายุหมุนเขตร้อนในประเทศไทย

พายุหมุนเขตร้อนมักเกิดบริเวณแถบเส้นศูนย์สูตร ในประเทศไทยส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกหรือในทะเลจีนใต้ ที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคเหนือ ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน  แต่โดยมาก พายุนี้มักอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่นหรือสลายตัวกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำเสียก่อน เนื่องจากพายุเคลื่อนตัวเข้าสู่แผ่นดินจะอ่อนกำลังลงเมื่อปะทะกับลักษณะภูมิประเทศเทือกเขาสูงแถบประเทศเวียดนาม กัมพูชา และเทือกเขาชายแดนของประเทศไทยเสียก่อน

แต่ก็อาจมีพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในเขตมหาสมุทรอินเดียได้ด้วยเช่นกัน แต่ก็ไม่ค่อยพบว่าเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยบ่อยมากนัก หรือที่เคลื่อนเข้ามาก็มักอ่อนกำลังลงมาก เนื่องจากพายุพัดผ่านสิ่งกีดขวางทางธรรมชาติ โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันตกของประเทศไทย มีแนวเทือกเขาสูงชัน ทอดตัวยาวตลอดแนว ซึ่งเป็นแนวกันพายุได้ดี  ส่วนทางด้านภาคใต้ ฝั่งทิศตะวันออกไม่มีแนวกำลังดังกล่าวทำให้เกิดความเสียหายจากพายุได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะพายุหมุนเขตร้อนที่เกิดในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม  ตัวอย่างเช่น พายุใต้ฝุ่นเกย์ ที่พัดเข้าทางด้านภาคใต้ทางด้านฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศเมื่อ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 ทำให้เกิดความเสียหายกับภาคใต้ฝั่งตะวันออกเป็นอย่างมาก

โดยทั่วไปประเทศไทยมักจะได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่นมากที่สุด โดยเฉลี่ยปีละ 3 – 4 ลูก  สำหรับการเกิดพายุหมุนเขตร้อนในประเทศไทยโดยปกติ มักเกิดในฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป จนถึงเดือนตุลาคม โดยอาจเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นในบริเวณมหาสมุทรอินเดีย หรือบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้ ดังนี้
1.ช่วงเดือนพฤษภาคม ก่อนเข้าฤดูฝนอาจจะมีพายุไซโคลนจากอ่าวเบงกอล เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านทิศตะวันตก ทำให้มีผลกระทบต่อภาคตะวันตกของประเทศ
2. ช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนกันยายน อาจจะมีพายุใต้ฝุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกพัดผ่านเข้ามาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้มีผลกระทบต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน
3. ช่วงเดือนกันยายน ถึง ปลายเดือนตุลาคม อาจจะมีพายุหมุนเขตร้อนในทะเลจีนใต้พัดผ่านเข้ามาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทำให้มีผลกระทบต่อภาคตะวันออก ภาคกลางภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง รวมทั้งเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
4. สำหรับช่วงต้นฤดูหนาวประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนมกราคม มักจะมีความกดอากาศต่ำในตอนล่างของทะเลจีนใต้พัดผ่านเข้ามาในอ่าวไทย ทำให้มีผลกระทบต่อภาคใต้ฝั่งตะวันออกตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป

greenhouse gas [ก๊าชเรือนกระจก]

มีทั้งที่เป็นก๊าซธรรมชาติ (เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ และโอโซน) และก๊าซที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับใช้ในภาคอุตสาหกรรมหลายตัวที่เป็นก๊าซเรือนกระจกด้วย (เช่น CFCs)  ก๊าซเรือนกระจกจะปล่อยให้แสงอาทิตย์ส่องผ่านมายังผิวโลกได้ แต่จะป้องกันไม่ให้ความร้อนที่เกิดจากแสงอาทิตย์สะท้อนกลับออกไปนอกโลก จึงทำให้อากาศบนผิวโลกร้อนขึ้น  ที่จริง โลกจำเป็นต้องมีก๊าซเรือนกระจกจำนวนหนึ่ง ในปริมาณที่เหมาะสม มิฉะนั้น โลกก็จะหนาวเย็นเกินไป แต่เนื่องจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ทำให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก๊าซเรือนกระจกแต่ละชนิดจะมีอายุไม่เท่ากัน และมีผลทำให้เกิดโลกร้อนต่างกันด้วย  ตารางข้างล่างแสดงให้ถึงความเข้มข้นและอัตราเพิ่มของก๊าชเรือนกระจกต่างๆ ซึ่งเปรียบเทียบถึงช่วงอายุ และศักยภาพในการทำให้โลกร้อนเปรียบเทียบกับผลของก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการเปรียบเทียบผลกระทบจากก๊าชแต่ละชนิดประมาณ 1 กิโลกรัมในช่วงเวลา 20 ปี

 

ก๊าชเรือนกระจก

ศักยภาพในการทำให้โลกร้อน

ความเข้มข้นในชั้นบรรยากาศก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม(ppmv)

ความเข้มข้นในชั้นบรรยากาศในปี พ.. 2541 (ppmv)

ช่วงอายุในบรรยากาศ (ปี)

ไอน้ำ

1 – 3

1 – 3

2 – 3 วัน

คาร์บอนไดออกไซด์

1

280

365

ไม่แน่นอน

มีเทน

21

0.7

1.75

12

ไนตรัสออกไซด์

310

0.27

0.31

114

HFC 23

12 000

0

0.000014

250

HFC 134a

1 300

0

0.0000075

13.8

HFC 152a

120

0

0.0000005

1.4

CF4

5 700

0.0004

0.00008

>50 000

C2F6

11 900

0

0.000003

10 000

SF6

22 200

0

0.0000042

3 200

climate change [การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ]

มีหลายหนวยงานที่พยายามนิยามคําศัพทนี้ จึงทําใหมีคํานิยามหลายอยาง เชน
(1) นิยามโดย WMC
(ก) โดยทั่วไป หมายถึง ความแตกตางของรูปแบบภูมิอากาศแบบตางๆ โดยพิจารณาจากวามีองคประกอบทางอุตุนิยมวิทยาของพื้นที่ใดที่หนึ่ง ที่แตกตางจากคาเฉลี่ยทางสถิติระยะยาว ไมวาจะมีสาเหตุจากอะไร (เชน จากการเปลี่ยนแปลงของรังสีจากดวงอาทิตย การเปลี่ยนแปลงองคประกอบวงโคจรของโลกในระยะยาว กระบวนการทาง
ธรรมชาติ หรือจากการกระทําของมนุษย)
(ข) ใชนความหมายเฉพาะที่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงอยางมีนัยสําคัญของคาเฉลี่ย (mean value) ขององคประกอบทางอุตุนิยมวิทยา (โดยเฉพาะอุณหภูมิและปริมาณของ precipitation ) ในชวงระยะเวลาหนึ่ง โดยคาเฉลี่ยดังกลาวไดมาจากการตรวจวัดในระยะยาวหลายทศวรรษหรือนานกวา [WMO (1992), International Meteorological Vocabulary, 2nd Edition, Publication No. 182, WMO’s Website](2) นิยามโดยUNFCCC
การเปลี่ยนแปลงของภูมิอกาศที่มีสาเหตุมาจากกิจกรรมของมนุษย ทั้งโดยตรงและโดยออม ที่ทำใหเกิดการเปลี่ยนแปลงในองคประกบอของบรรยากาศโลก ซึ่งมากไปกวาการผันผวนของภูมิอากาศ ที่สังเกตุไดในชวงเวลาใกลเคียงกัน  [IPCC (1995), Climate Change: A Glossary by the Intergovernmental Panel on Climate Change, IPC’s Website]

(3) นิยามโดย IPCC
การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ที่เปรียบเทียบกับบันทึกการสังเกตภูมิอากาศ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะการเปลี่ยนแปลงของปจจัยภายในระบบภูมิอากาศ หรือจากปฏิสัมพันธขององคป ระกอบของระบบภูมิอากาศ หรือจากปจจัยภายนอก ทั้งจากปจจัยทางธรรมชาติ หรือจากกิจกรรมของมนุษย  โดยทั่วไป จะไมสามารถแยกแยะปจจัยที่เปนสาเหตุไดชัดเจน  ในการทํานายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของอนาคตของ IPCC นั้น โดยทั่วไปจะพิจารณาเฉพาะอิทธิพลตอภูมิอกาศ ที่มาจากกิจกรรมของมนุษยที่ทำใหเกิดกาซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น หรือจากปจจัยที่เกี่ยวของกับมนุษย [IPCC (1995), Climate Change: A Glossary by the Intergovernmental Panel on Climate Change, IPC’s Website]

climate variability [ความผันผวนของภูมิอากาศ]

ระบบภูมิอากาศที่แปรปรวนไปจากแบบแผนของภูมิอากาศที่เคยเปนอยูในอดีต ที่แตกต่างไปจากค่าเฉลี่ยทางสถิติ ทั้งในเชิงของพื้นที่ และในเชิงของเวลา เชน ในแตละปจะมีช่วงฤดูรอนและฤดูฝน ซึ่งโดยปกติ จะมีฝนเริ่มตกในปลายเดือนเมษายน (ในกรณีของประเทศไทย)  แตถามีฝนตกอยางตอเนื่องตั้งแตตนเดือนเมษายน ก็ถือวามีความผันผวนของฝนเกิดขึ้น ซึ่งความผันผวนของภูมิอากาศนั้นเกิดไดกับฝน (ปริมาณ ชวงเวลาที่ตก การเวนชวงระยะเวลา แล้ง) อุณหภูมิ ลม และสภาพอากาศต่างๆ

ความเปราะบาง [vulnerability]

ระดับที่ระบบจะได้รับผลกระทบ หรือไม่สามารถที่จะรับมือ กับผลจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (ทั้งความผันผวนของภูมิอากาศ [climate variation] หรือสภาพอากาศรุนแรง/วิกฤติ [climate extreme])  ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเปราะบางประกอบด้วยการเปิดรับต่อภัยจากภูมิอากาศ [exposure] (ทั้งชนิดของภัย ขนาดของภัย และอัตราความผันผวนของภูมิอากาศ) ระดับของความอ่อนไหวของระบบเมื่อเกิดภัยจากภูมิอากาศ [sensitivity] และความสามารถในการปรับตัว [adaptive capacity] ของระบบในการรับมือกับภัยจากภูมิอากาศ

(CO2) fertilization effect [ผลของการมีธาตุอาหารเพิ่มจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์]

การมีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มขึ้นจะเป็นผลดีต่อพืช เพราะพืชสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากขึ้น (ซึ่งทำให้พืชได้รับธาตุอาหารคาร์บอนเพิ่มขึ้น) ทำให้มีการเจริญเติบโตได้ดีขึ้น  แตพืชต่างชนิดอาจเจริญเติบโตไดดีตางกัน  โดยทั่วไป พืชในกลุม C3 จะเจริญเติบโตไดดีกวาพืชในกลุม C4 (พืชสวนใหญอยูในกลุม C3 แตพืชอาหารเชน ขาวโพด อ้อย ข้าวฟ่าง  เปนพืชในกลุม C4) แตเมื่อความเขมขนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึงจุดๆ หนึ่ง (จุดสูงสุดนี้แตกตางกันไปตามชนิดพืช) การเจริญเติบโตของพืชก็อาจไมไดเพิ่มขึ้น เนื่องจากปจจัยในการเจริญเติบโตอื่นๆ เริ่มจํากัดไมใหพืชเจริญเติบโตไดเพิ่มขึ้นอีก เพราะมีปัจจัยอื่นที่กลายเป็นข้อจำกัดในการเจริญเติบโต (เชน มีธาตุอาหารในดินไมเพียงพอ หรือปัญหาความแห้งแล้ง)

 

ทฤษฎีมิแลนโควิทช์ [Milankovitch Theory]ได้พยายามอธิบายการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกในระยะยาวว่า เกิดจากปรากฏการณ์ 3 เรื่อง คือ วงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ องศาของแกนโลก และการส่ายไปมาของแกนหมุนของโลก ซึ่งทั้งสามปรากฏการณ์นี้เป็นวัฎจักรธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาต่างกัน

วัฎจักรแรกคือ วงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ (Earth’s eccentricity) ซึ่งเป็นวัฎจัการที่ใช้เวลานานที่สุด โดยวงโคจรโลกรอบดวงอาทิตย์ ที่เป็นวงรีนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงทุก 100,000 ปี  เมื่อวงโคจรโลกรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีมากที่สุด ในช่วงนั้นโลกก็จะทั้งอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด และห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุดด้วย  ในช่วงดังกล่าว ความเข้มข้นของรังสีดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกในแต่ละช่วงฤดูกาลของปีก็จะแตกต่างกันอย่างมาก ในช่วงปัจจุบันนี้ วงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ไม่ได้เป็นรูปวงรีมากนัก ทำให้ความแตกต่างของรังสีดวงอาทิรย์ที่ส่องมาถึงผิวโลกในช่วงเดือนมกราคมแตกต่างจากรังสีที่ส่องมาในช่วงเดือนกรกฎาคม เพียงแค่ 6% เท่านั้น แต่ในช่วงที่วงโคจรเป็นรูปวงรีมากๆ ความแตกต่างของรังสีในช่วงต้นปีและกลางปีอาจมากถึง 20-30% เลยทีเดียว  การเปลี่ยนแปลงของรังสีดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกนี้มีผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศบนโลก

วัฎจักรที่สองจะใช้เวลาราว 41,000 ต่อรอบ ซึ่งวัฎจักรนี้เกี่ยวข้องกับแกนของโลก (axial tilt) ที่มีมุมเอียงที่ต่างกันไป  ในช่วงต่างๆ มุมเอียงของแกนโลกจะอยู่ราว 22.1 – 24.5 องศา ซึ่งทำให้มีผลต่อบริเวณพื้นผิวบนโลกที่รังสีจากดวงอาทิตย์อาจตกกระทบแตกต่างกันออกไปเมื่อแกนโลกเปลี่ยนองศาไป  ในปัจจุบันแกนโลกเอียงอยู่ในช่วงกลางๆ ของมุมเอียง คือประมาณ 23.44 องศา

ส่วนวัฎจักรที่สาม ซึ่งเป็นวัฎจักรที่สั้นที่สุดคือใช้เวลาราว 26,000 ปีต่อรอบ ซึ่งวัฎจักรนี้จะสัมพันธ์กับการส่ายไปมาของแกนโลก (precession) โดยในช่วงหนึ่งของวัฎจักรแกนโลกจะชี้ไปที่ดาวเหนือและแกนโลกจะค่อยๆ ย้ายไปชี้ที่ดาว Vega การส่ายของแกนโลกนี้มีผลต่อความรุนแรงของฤดูกาล กล่าวคือเมื่อแกนโลกทางเหนือชี้ตรงไปที่ดาว Vega ฤดูหนาวก็จะหนาวเย็นเป็นพิเศษ ในขณะที่ฤดูร้อนก็จะร้อนมากขึ้นเป็นพิเศษด้วย

การเปลี่ยนแปลงทั้งสามลักษณะของวงโคจรโลก แกนองศา และการส่ายของแกนโลก ทำให้ปริมาณรังสีดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของโลกโดยรวม

climate system [ระบบภูมิอากาศ]
ประกอบด้วยระบบ 5 ระบบที่ปฏิสัมพันธ์กัน คือ
(ก) บรรยากาศ (atmosphere) หรือบางครั้งก็เรียก อากาศภาค ซึ่งประกอบด้วยก๊าซต่างๆ ในอากาศ ที่อยู่บนผิวโลก
(ข) อุทกนิเวศ (hydrosphere) ซึ่งประกอบด้วยสิ่งที่เป็นน้ำและของเหลวที่อยู่ใต้ผิวโลกและบนผิวโลก
(ค) น้ำแข็งบนโลก (cryosphere) หิมะและน้ำแข็งที่อยู่ใต้ผิวโลกและบนผิวโลก
(ง) ธรณีภาค (lithosphere) ส่วนเป็นผืนดินของผิวโลก เช่น หิน ดิน
(จ) ชีวมณฑล (biosphere) สิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อยู่บนโลก ทั้งพืช สัตว์ รวมทั้งอินทรีย์วัตถุต่างๆ

carbon dioxide equivalent – CDE [ค่าเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์]

เป็นค่าที่ระบุปริมาณก๊าซเรือนกระจกชนิดต่างๆ ที่รวมกัน ว่ามีศักยภาพในการทำให้เกิดโลกร้อน (global warming potential – GWP) รวมกันเท่ากันปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนเท่าใด โดยค่าเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์นี้มักจะต้องระบุช่วงระยะด้วย (โดยทั่วไปใช้ระยะเวลา 100 ปี)   ค่าเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์นี้ได้จากการคูณปริมาณก๊าซเรือนกระจกนั้นกับค่าศักยภาพในการทำให้โลกร้อน (GWP) และมักจะใช้ในการแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวม หรืออัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหลายชนิด ในช่วงหนึ่งๆ โดยปกติมักจะช่วยเป็นหน่วยล้าน หรือพันล้านตันของเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ (million meteric tones of CO2 equivalent = MMTCDE หรือ billion metric tonnes of CO2 equivalent = giga tonnes of CO2 equivalent GtCO2eq)

ค่าเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์นี้มีต่างจาก คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Equivalent carbon dioxide – CO2e)

equivalent carbon dioxide – CO2e [คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า]

คือ ค่าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะมีผลในการแผ่รังสี (radiative forcing) เท่ากันกับก๊าซเรือนกระจกต่างๆ โดยค่าคาร์บอนเทียบเท่านี้จะมีมีหน่วยเป็นส่วนในล้านส่วนโดยปริมาตร (ppmv)  ยกตัวอย่างเช่น ค่าคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) ของบรรยากาศโลกในปี พ.ศ. 2293 จะเท่ากับ 278 ppmv และเพิ่มขึ้นเป็น 412 ppmv ในปี พ.ศ. 2541

Quasi-Biennial Oscillation – QBO [การเปลี่ยนเฟสของการกวัดแกว่งของลมทุกรอบสองปี]

เป็นการพัดสลับกันของลมบริเวณศูนย์สูตรเป็นช่วงๆ ของลมตะวันออกและลมตะวันตกในชั้นสตราโตสเฟียร์ โดยแต่ละช่วงจะกินเวลากว่า 2 ปี คือ ประมาณ 28 – 29 เดือน โดยลมจะเกิดขึ้นในด้านบนของชั้นสตราโตเฟียร์ด้านล่าง และค่อยๆ ขยายลงมาด้านล่างราว 1 กิโลเมตรทุกๆ เดือน จนกระทั่งหมดกำลังลงในเขตโทรโพพอส (tropopause) ซึ่งเป็นบริเวณรอยต่อระหว่างชั้นสตราโตสเฟียร์และชั้นโทรโพสเฟียร์  การขยับตัวลงด้านล่างของลมตะวันออกนั้นค่อนข้างจะไม่เป็นแบบแผนเหมือนลมตะวันตกเท่าไหร่นัก และมีความแรงของลมเป็นเกือบสองเท่าของลมตะวันตก  ในทางด้านบนของกระแสลม QBO นี้ กระแสลมตะวันออกจะเป็นกระแสหลัก ในขณะที่ด้านล่างกระแสลมตะวันตกจะเป็นกระแสหลัก  ปรากฏการณ์นี้ทำให้เกิดผลกระทบต่อบรรยากาศโลกหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำให้โอโซนในชั้นสตราโตสเฟียร์ลดลง การเปลี่ยนแปลงลมมรสุม และการหมุนเวียนของบรรยากาศในชั้นสตราโตสเฟียร์ในช่วงฤดูหนาวของเขตขั้วโลกเหนือ ซึ่งทำให้เกิดอากาศอบอุ่นขึ้นอย่างกระทันหันในเขตดังกล่าว

El Nino – La Nino [เอลนิลโญ-ลาณีญา]

ในช่วงปรากฏการณ์ลาณีญา กระแสลมในมหาสมุทรแปซิฟิคจะพัดไปทางทิศตะวันตก ทำให้น้ำอุ่นที่อยู่ด้านบนของผิวน้ำ ไหลไปที่ชายฝั่งประเทศออสเตรเลีย และหมู่เกาะต่างๆ ที่อยู่ทางเหนือของออสเตรเลีย เมื่อน้ำอุ่นไหลไปทางตะวันตก กระแสน้ำฮัมโบลด์ที่เย็นกว่าที่อยู่ด้านล่างก็จะไหลขึ้นด้านบน บริเวณชายฝั่งทะเลแปซิฟิคของทวีปอเมริกาใต้

เมื่อกำลังกระแสลมอบอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิคอ่อนตัวลง ปรากฏการณ์เอลนิโญก็จะเริ่มขึ้น  โดยน้ำอุ่นที่เคยพัดไปทางตะวันตกจะไหลย้อนกลับไปทางตะวันออก และดันกระแสน้ำเย็นฮัมโบลด์กลับไปอยู่ใต้ทะเลเหมือนเดิม  กระแสน้ำอุ่นที่ไหลกลับไปนี้จะพัดพาไอน้ำจากมหาสมุทรเข้าไปที่ทวีปอเมริกาใต้ ทำให้เกิดฝนตกในทวีปนั้น  ส่วนน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิคด้านตะวันตกจะเย็นตัวลง ทำให้น้ำจากมหาสมุทรระเหยน้อยลง ส่งผลทำให้เกิดภาวะแห้งแล้งในทวีปออสเตรเลีย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เมื่อเอลนิโญรุนแรงสุดขั้ว จะเกิดภาวะแห้งแล้ง น้ำท่วม และสภาพอากาศผันผวนจะเกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ เกือบสองในสามของโลก โดยปรากฏการณ์เอลนิโญที่รุนแรงที่สุดเกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2540-41 จนถูกบันทึกว่าเป็นปีที่เกิดภาวะแห้งแล้งในประเทศต่างๆ อย่างกว้างขวาง และเกิดไฟป่าในหลายแห่งทั่วโลก

emission reduction [การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก]

แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจอย่างเป็นทางการ/บังคับ (compulsary emission reduction) และ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบสมัครใจ (voluntary emission reduction – VER)

การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจอย่างเป็นทางการ/บังคับนี้เป็นหนึ่งในข้อตกลงของอนุสัญญาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCC) นั้นกำหนดให้ประเทศที่มีพันธกรณีภายใต้พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) [ซึ่งมีอยู่ 40 ประเทศที่ได้ลงนามในพิธีสารเกียวโต โดยส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ก็มีประเทศกำลังพัฒนาอยู่บางส่วน ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกค่อนข้างมาก ซึ่งประเทศเหล่านี้จะชื่อปรากฎอยู่ในภาคผนวก B ของพิธีสารเกียวโต] ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้อยู่ในกรอบของโควต้าการปล่อยก๊าซ (assigned allowance) ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด  ดังนั้น การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศเหล่านี้จึงเรียกว่า การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นทางการ/บังคับ

ในกรณีที่ประเทศเหล่านี้ไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศของตัวเองได้ตามกรอบโควต้า พิธีสารเกียวโตได้อนุญาตให้ประเทศเหล่านี้สามารถชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนเกินของตัวเองได้โดยใช้กลไกหนึ่งในต่อไปนี้
(ก) ซื้อโควต้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในกลุ่มประเทศภาคผนวก B ด้วยกันเอง
(ข) ซื้อหน่วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (emission reduction units – ERUs) จากโครงการ joint implementation projects ที่เป็นโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนาที่อยู่ในภาคผนวก B ด้วยกัน
(ค) ซื้อ certified emission reductions (CERs) จากโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (clean development mechanism – CDM) ซึ่งเป็นโครงการที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนา ที่ไม่ได้อยู่ในภาคผนวก B

ส่วนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบสมัครใจนั้นเป็นเรื่องที่ประเทศแต่ละประเทศ อาจเลือกที่จะทำนโยบายนี้ ไม่ว่าจะมีพันธกรณีตามพิธีสารเกียวโต ที่ให้ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นทางการ/บังคับหรือไม่ก็ตาม ซึ่งรัฐบาลของบางประเทศอาจออกนโยบาย/มาตรการเพื่อสนับสนุนให้ภาคส่วนต่างๆ ในประเทศของตัวเองทำการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่อยู่นอกกรอบโควต้าการปล่อยก๊าซ (assigned allowance) ซึ่งเรียกการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนี้ว่าเป็น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบสมัครใจ โดยรัฐบาลของแต่ละประเทศอาจออกมาเป็นมาตรการบังคับภายในประเทศ หรือกระตุ้นให้ภาคเอกชน-ประชาชนเข้าร่วมโดยสมัครใจก็ได้

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบสมัครใจอาจแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภท คือ
(1) มาตรการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (energy efficiency)
(2) มาตรการเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน (renewable energy)
(3) มาตรการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคการขนส่ง
(4) มาตรการจัดทำโครงการประเภท carbon offset
(5) มาตรการติดฉลากคาร์บอน
(6) มาตรการตลาดคาร์บอนแบบสมัครใจ (voluntary carbon market)

carbon footprint [รอยเท้าคาร์บอน]

เป็นข้อมูลประมาณของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบุคคล องค์กร หรือกิจกรรม ซึ่งได้จากผลรวมของกิจกรรมสองประเภท คือ Primary Footprint คือ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง อันเนื่องมาจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอซซิล  การขนส่ง การเดินทางโดยเครื่องบิน เป็นต้น และ Secondary Footprint คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ โดยประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ผลิตภัณฑ์ ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังใช้งาน [ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน “life cycle assessment“] โดยการคำนวณรอยเท้าคาร์บอนทั้งสองประเภทจะทำออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (นิยมใช้หน่วยกิโลกรัมหรือตัน)

คำนิยามอื่นๆของรอยเท้าคาร์บอน คือ ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดที่มาจากการกระทำของมนุษย์แต่ละคนในระยะเวลา 1 ปี (ซึ่งรวมถึงการปล่อยออกมาผ่านการใช้พลังงานด้วย) นิยามนี้ให้ความสำคัญเรื่องของการคำนวณปริมาณคาร์บอนของแต่ละบุคคล ซึ่งมาจากแนวความคิดที่ว่ารอยเท้านี้เป็นสิ่งที่มาจากการกระทำของมนุษย์ทุกคนรวมกัน รอยเท้าคาร์บอนอาจจะพิจารณาเฉพาะการปล่อยโดยตรงอย่างเดียว (คำนวณจากปริมาณพลังงานที่ใช้ในครัวเรือนและการขนส่ง รวมไปถึงการเดินทางด้วยรถยนต์ เครื่องบิน รถไฟ หรือการขนส่งสาธารณะอื่นด้วย) หรืออาจจะรวมเอาการการปล่อยทางอ้อมไว้ด้วยก็ได้ (รวมปริมาณแก๊สคาร์บอสได้ออกไซด์ที่เป็นผลมาจากสินค้าและบริการที่บริโภคในแต่ละวัน) การคำนวณจากล่าขึ้นบนจะให้ผลรวมเป็นปริมาณแก๊สคาร์บอสไดออกไซด์ที่แต่ละคน ปล่อยออกมาจากกิจกรรมของตัวเอง

การประเมินรอยเท้าคาร์บอนมีประโยชน์ในแง่

  • แสดงปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่มาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น
  • รับทราบผลกระทบของแต่ละขั้นตอนในการผลิตผลิตภัณฑ์ ทำให้สามารถที่จะแจกแจงและดำเนินการวางแผนกลยุทธ์ในการลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต
  • สำหรับใช้ในการติดฉลากคาร์บอนบนสินค้า เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้เลือกสินค้าที่มีส่วนช่วยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • สำหรับใช้ในการชดเชยคาร์บอนของบุคคลหรือองค์กร เพื่อที่จะช่วยสนับสนุนให้มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในที่อื่น ที่มาชดเชยให้กับกิจกรรมของตัวเอง

life cycle assessment – LCA [การประเมินวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์]

บางครั้งอาจเรียก “การประเมินวัฏจักรชีวิต” ซึ่งเป็นกระบวนการวิเคราะห์และประเมินค่าผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมตลอดช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การสกัดหรือการได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่งและการแจกจ่าย การใช้งานผลิตภัณฑ์ การใช้ใหม่/แปรรูปและการจัดการเศษซากของผลิตภัณฑ์หลังจากการใช้งาน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นการพิจารณาผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ขั้นแรกสุดของการผลิตจนการกำจัดขยะ/ของเสียที่จากการการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ  (From Cradle to Grave)  โดยการประเมินจะมีการพิจารณาถึงปริมาณพลังงานและวัตถุดิบที่ใช้ รวมถึงปริมาณของเสียที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมด้วย

ในการประเมินวัฎจักรชีวิตนั้นมีขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอน คือ การกำหนดเป้าหมายและขอบเขต (Goal and Scope) การวิเคราะห์บัญชีรายการด้านสิ่งแวดล้อม (Life Cycle Inventory) การประเมินผลกระทบตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Impact Assessment) การแปรผล (Interpretation) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. การกำหนดเป้าหมายและขอบเขต (Goal and Scope) ประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมายและขอบเขตหน้าที่ของผลิตภัณฑ์ (Product function) หน่วยการทำงาน (Functional unit) ขอบเขตระบบ (System boundary) และระบบผลิตภัณฑ์ (Product System) ขั้นตอนนี้มีอิทธิพลโดยตรงต่อทิศทางและความละเอียดในการศึกษา จึงนับว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก เพราะถ้าการกำหนดเป้าหมายและขอบเขตใม่ครอบคลุมดีพอ จะทำให้การประเมินสารที่เข้าและสารที่ออกจากระบบหรือประโยชน์ที่จะได้รับจากการปรับปรุงระบบนั้นทำได้ยากและไม่ตรงประเด็น
  2. การวิเคราะห์บัญชีรายการด้านสิ่งแวดล้อม (Life Cycle Inventory) เป็นการเก็บรวบรวมและคำนวณข้อมูลที่ได้จากกระบวนการต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในขั้นตอนการกำหนดเป้าหมายและขอบเขตการศึกษา ขั้นตอนนี้รวมถึงการสร้างผังของระบบผลิตภัณฑ์การคำนวนหาปริมาณของสารขาเข้าและสารขาออกจากระบบผลิตภัณฑ์ โดยพิจารณาถึง ทรัพยากรและพลังงานที่ใช้หรือการปล่อยของเสียออกสู่อากาศ น้ำและดิน
  3. การประเมินผลกระทบตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Impact Assessment) เป็นการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของระบบผลิตภัณฑ์ จากข้อมูลการใช้ทรัพยากรและการปล่อยของเสียหรือสารขาเข้าและขาออกที่ได้จากขั้นตอนการวิเคราะห์บัญชีรายการด้านสิ่งแวดล้อม โดยการประเมินผลกระทบเกี่ยวข้องกับประเด็นหลักๆ คือ การนิยามประเภท (Category Definition) การจำแนกประเภท (Classification) การกำหนดบทบาท (Characterization) และการให้น้ำหนักแก่แต่ละประเภท (Weighting)
  4. การแปลผล (Interpretation) เป็นการนำผลการศึกษามาวิเคราะห์เพื่อสรุปผล พิจารณาข้อจำกัดการให้ข้อเสนอแนะที่มาจากผลการทำประเมินวัฎจักรชีวิตหรือการวิเคราะห์บัญชีรายการด้านสิ่งแวดล้อมและทำรายงานสรุปการแปลผลการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับเป้าหมายและขอบเขตของการศึกษา

 

ยกตัวอย่าง การประเมินวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ข้าวสาร จะต้องพิจารณาประเด็นดังต่อไปนี้
1. ปัจจัยนำเข้า (Inputs) เพื่อการผลิต ได้แก่

  • กระบวนการเตรียม เมล็ดพันธุ์
  • กระบวนการเตรียมปุ๋ย/ยาฆ่าแมลง
  • กระบวนการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร
  • กระบวนการผลิต เชื้อเพลิงและอื่นๆ

2. กระบวนการ (ในทุ่งนาปลูกข้าว) ประกอบไปด้วย

  • กระบวนการที่เกี่ยวเนื่องกับกำลังคนและแรงงาน
  • กระบวนการของธรรมชาติโดยรอบ
  • ความผันแปรของบริบทต่างๆ เช่น

3. ผลผลิต (outputs) กำไร ต้นทุน

  • กระบวนการที่ได้มาซึ่งผลผลิตข้าว (Main product)
  • ผลผลิตพลอยได้ (สิ่งที่ต้องการ)
  • มลพิษ ขยะ ที่เกิดขึ้น (สิ่งที่ไม่ต้องการ)

carbon label [ฉลากคาร์บอน]

บางครั้งก็เรียกสั้นๆ ว่า ฉลากรอยเท้าคาร์บอน ซึ่งเป็นฉลากสำหรับใช้บนผลิตภัณฑ์ที่แสดงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์นั้นๆ [ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน “carbon footprint“]

เกณฑ์หรือประเภทของฉลากคาร์บอนแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ

  1. ฉลากคาร์บอนที่เป็นแบบ carbon footprint ที่บ่งบอกถึงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยสินค้าชนิดเดียวกันอาจจะมีการใช้วัตถุดิบตั้งต้นที่แตกต่างกัน รวมถึงมีระยะทางการขนส่งไม่เท่ากัน ย่อมมีระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแตกต่างกันโดยธรรมชาติ เช่น สินค้าที่ผลิตในท้องถิ่น (Local products) ที่อาจจะมีการผลิตที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่าใดนักเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าที่ผลิตจากต่างพื้นที่ ในที่สุด สินค้าที่สองชิ้นนี้อาจจะมีฉลาก carbon footprint ที่เท่ากันก็ได้
  2. ฉลากคาร์บอนที่บ่งบอกระดับปริมาณลดลงของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงนั้นอาจจะมาจาก “ฐาน” การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่แตกต่างกัน เช่น แชมพูสระผมยี่ห้อ a ติดฉลากคาร์บอนบ่งบอกว่าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 20 กรัมต่อสินค้า (ซึ่งเดิมเคยปล่อย 100 กรัมต่อสินค้า 1 ชิ้น) ในขณะที่ยี่ห้อ b ก็ติดฉลากบ่งบอกว่าลดก๊าซเรือนกระจก 20 กรัมต่อสินค้าเช่นกัน (แต่เดิมเคยปล่อย 150 กรัมต่อสินค้า 1 ชิ้น) ดังนั้น สินค้าทั้งสองชนิดปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่เท่ากัน ทั้งๆ ที่จะมี “ตัวเลข” บนฉลากเท่ากัน นั่นคือ 20 กรัมต่อสินค้า 1 ชิ้น
  3. ฉลากคาร์บอนจะบ่งบอกอัตราการลด (ร้อยละ) ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยสินค้า 2 ชนิดมีฉลากที่บ่งบอกว่าอัตราการลด คือ 10% แต่หากปริมาณการปล่อยดั้งเดิมนั้นไม่เท่ากัน เช่น ย่อมหมายถึงว่า สินค้าทั้งสองชนิดย่อมปล่อยก๊าซเรือนกระจกแตกต่างกัน เช่น สินค้า c เดิมเคยปล่อยก๊าซเรือนกระจก 100 กรัม ต่อสินค้า ดังนั้น ปัจจุบันปล่อยเพียง 90 กรัมต่อสินค้า ในขณะที่สินค้า d เดิมเคยปล่อยก๊าซเรือนกระจก 150 กรัมต่อสินค้า ในขณะที่สินค้า d เดิมเคยปล่อยก๊าซเรือนกระจก 150 กรัมต่อสินค้า ดังนั้น ปัจจุบัน ปล่อยเพียง 135 กรัมต่อสินค้า ซึ่งยังมากกว่าสินค้า c ทั้งๆ ที่ฉลาก ระบุตัวเลขเท่ากัน
  4. ฉลากคาร์บอนที่บ่งบอกการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือการลดก๊าซเรือนกระจก เฉพาะกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นที่นิยม เนื่องจากง่ายต่อการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่งก็มีความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากการขนส่งเป็นต้นกำเนิดของก๊าซเรือนกระจกที่มีสัดส่วนค่อนข้างสูง

ฉลากคาร์บอนเกิดขึ้นครั้งแรกในสหราชอาณาจักรเมื่อเดือนมีนาคม 2550 ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้ผลิตสินค้าอุปโภค-บริโภค โดย Tesco Plc. ซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ ได้เริ่มติดสลาก Carbon Footprint บนภาชนะบรรจุสินค้า ภายใต้ Private brand ของตนเอง ประมาณ 20 รายการ วางขายในห้าง Tesco ทั่วประเทศ และการติดป้ายบอกจำนวนคาร์บอนก็ได้แพร่หลายไปทั่วยุโรป เป้าหมายเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เห็นและเข้าใจได้ง่ายว่า สินค้าแต่ละชนิด เป็นที่มาของคาร์บอนไดออกไซด์ในขบวนการผลิต ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มากน้อยเพียงใด และให้ผู้ซื้อเป็นผู้ตัดสินใจ

ข้อดีของฉลากคาร์บอน

  • ในแง่ของการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน เมื่อพิจารณาเป้าหมายในการทำฉลากคาร์บอนแล้ว จะทำให้เห็นข้อมูลและเข้าใจได้ง่ายว่า สินค้าแต่ละชนิดนั้นเป็นที่มาของคาร์บอนไดออกไซด์ในขบวนการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใดและให้ผู้ซื้อเป็นผู้ตัดสินใจ
  • เมื่อมีการนำมาตรการฉลากคาร์บอนมาใช้กับสินค้า ถือเป็นการส่งเสริมหรือกระตุ้นให้บริษัทผู้ผลิตตื่นตัวในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้สลากใหม่ที่จะได้รับความสนใจและส่งผลต่อการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค
  • มาตรการฉลากคาร์บอนจะนำไปสู่การปรับปรุงขบวนการผลิตและระบบการจำหน่ายสินค้าครั้งใหญ่ของผู้ผลิตแต่ละราย เพราะในอนาคตการติดตามรอยเท้าคาร์บอนเพื่อทำฉลากคาร์บอน อาจกลายเป็นข้อมูลที่ผู้ซื้อมองหาและเห็นว่าจำเป็นต้องรับรู้ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า ท่ามกลางกระแสของโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงไปของภูมิอากาศ
  • ในอนาคต การแข่งขันในตลาดอาจจะไม่จำกัดอยู่เฉพาะราคา คุณภาพมาตรฐาน การออกแบบหรือรสชาติ เพราะการแข่งขันของสินค้าต่อไปคงจะต้องเน้นที่สินค้านั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับสากล หากกฎระเบียบใหม่ที่อาจส่งผลต่อการกีดกันทางการค้า ฉลากคาร์บอน จึงอาจต้องเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นที่ผู้ผลิตต้องนำมาใช้

ข้อด้อย
เนื่องจากการกำหนดมาตรฐานฉลากคาร์บอนมีหลายลักษณะหรือหลายรูปแบบ ดังนั้น อาจส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตเพื่อการส่งออก เนื่องจากแต่ละประเทศมีมาตรฐานไม่เหมือนกัน ผู้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกและต้องการติดฉลากคาร์บอนอาจต้องเผชิญกับปัญหาความแตกต่างของกฏเกณฑ์ด้านฉลาก และอาจมีผลต่อการเพิ่มต้นทุนแก่ผู้ผลิต