รายงานฉบับสมบูรณ์ การวิเคราะห์ความเสี่ยง ความเปราะบาง และการปรับตัวของชุมชน ในพื้นที่สาธิตกระบวนการ วางแผนการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ลุ่มยัง ประเทศไทย
ผู้แต่ง:

ยรรยงค์ อินทร์ม่วง และคณะ

สำนักพิมพ์:

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันที่พิมพ์:

ตุลาคม 2554

Summary:

รายงานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “สาธิตกิจกรรมของประเทศไทยภายใต้แผนงานริเริ่มการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” (Local demonstration project under climate change and adaptation initiative in Thailand: CCAI) โดยมีกิจกรรม (1) การจัดทําแบบสอบถามเพื่อการประเมินความเปราะบางจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (2) การใช้แบบสอบถามในการสํารวจข้อมูลในชุมชนเป้าหมาย และการวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยง ความเปราะบาง และการปรับตัวในระดับครัวเรือน (Design a set of questionnaire survey form for climate change vulnerability assessment) และ (3) การดําเนินกิจกรรมการวิจัยแบบมีสวนรํวมของชุมชน (Community participatory action research) หรือ การวิจัยไทยบ้าน เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลแนวทางและวิธีการปรับตัวในระดับชุมชนและครัวเรือนจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การพัฒนาแบบสอบถามและคู่มือการเก็บข้อมูลภาคสนาม ประยุกต์ใช้แนวทางขององค์การแคร์ (CARE) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสากล (IUCN) ซึ่งเป็นแนวทางการประเมินความเปราะบางและการปรับตัวของชุมชนเกษตรกรรมชนบทตํอการเปลียนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ซึ่งแบบสอบถามและคู่มือที่พัฒนาขึ้นได้ใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลในพื้นที่ศึกษา คือ ลุ่มน้ำยัง โดยมีชุมชนเป้าหมาย คือ ชุมชนสายนาวัง อําเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ และชุมชนวังหลวง อําเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผลการศึกษาภัยคุกคามและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความแปรปรวนสภาพภูมิอากาศ พบว่าทั้งสองชุมชนมีภัยคุกคามจากความแปรปรวนของปริมาณน้ำฝน โดยเกิดผลกระทบรุนแรงต่อระบบการเพาะปลูกของทั้งสองชุมชนตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา ช่วงต้นฤดูกาลเพาะปลูก มีปริมาณฝนตกไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงหว่านและเพาะกล้า และบางส่วนในช่วงปักดํา ทําให้ผลผลิตเสียหายเป็นบริเวณกว้าง และในช่วงฤดูแล้งปริมาณน้ำในแหล่งน้ำลดลง ดินขาดความชื้นและความอุดมสมบูรณ์ มีศัตรูพืชระบาดมากในพื้นที่เพาะปลูกนาปรัง ชุมชนขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค ในช่วงปลายฤดูฝนมีปริมาณฝนตกมาก แต่ตกในระยะเวลาสั้น ทําให้ครัวเรือนที่อาศัยอยูํริมน้ำยังประปัญหาอุทกภัย พื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำ ซึ่งเป็นข้าวนาปีเสียหาย รวมทั้งการขาดแคลนน้ำบริโภคด้วย

ผลการศึกษาความเปราะบางพบว่า ครัวเรือนที่มีพื้นที่นาข้าวที่ไม่มีแหลํงน้ำสํารอง  ปลูกชนิดพันธุ์ข้าวที่ทนแล้งได้น้อย  ปลูกพืชเชิงเดี่ยว  ขนาดพื้นที่แปลงนาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ไรํ ครัวเรือน ที่ไม่มีการปลูกผักและเลี้ยงสัตว์เพื่อรับประทาน  อาชีพทํานาข้าวอย่างเดียว ไม่มีอาชีพสํารอง  การเพาะปลูกขาดแคลนแรงงานจากครัวเรือน  มีภาชนะเก็บกักน้ำฝนไมํพอเพียง  ครัวเรือนลักษณะนี้พบวํา มีความเปราะบางตํอผลกระทบจากภัยแล้งมากที่สุด  ส่วนครัวเรือนที่เปราะบางตํอผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย คือ ครัวเรือนที่มีแปลงนาอยูํใกล้ริมฝั่งแม่นา แต่ยังไม่เปลี่ยนวิธีการผลิตจากนาปีเป็นนาปรัง  แปลงนาที่ไม่ได้จัดทําระบบการระบายน้ำ และการปลูกพันธุข้าวที่ไม่ทนน้ำทํวม เป็นครัวเรือนที่มีความเปราะบางมากที่สุดตํอผลกระทบจากอุทกภัย

ผลการศึกษาด้านความเสี่ยงพบว่า ครัวเรือนเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนระบบการเพาะปลูกแบบเกษตรผสมผสาน โดยการปลูกข้าว พืชผัก ไม้ผล เลี้ยงสัตว์ มีภาชนะเก็บกักน้ำฝนพอบริโภค และการสร้างแหลํงน้ำและระบบระบายน้ำในไร่นา เป็นกลุํมเสียงน้อยสุด ทั้งจากปัญหาผลกระทบจากภัยแล้งและอุทกภัย และเป็นกลุํมที่มีมูลค่าความเสียหายน้อยที่สุด  ในขณะที่เกษตรกรที่มีแปลงนาขนาดเล็ก ปลูกพืชเชิงเดี่ยว และขาดทักษะในการจัดการดินและน้ำในไรํนา เป็นกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด

ผลการศึกษาด้านการปรับตัวระดับชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศพบว่า การปรับปรุงระบบการจัดการน้ำชุมชนโดยพัฒนาระบบเหมืองฝายชุมชน โดยใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน การส่งเสริมและอนุรักษ์ป่าชุมชน การพัฒนาแหล่งอนุรักษ์พันธุ์ปลา การอนุรักษ์พืชริมน้ำ การสํงเสริมเกษตรผสมผสาน การไถกลบตอซังข้าว การอนุรักษ์ดินและน้ำในแปลงนา การรณรงค์ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การสร้างสระน้ำ และระบบกระจายน้ำในแปลงนา  เหล่านี้ทำให้ชุมชนลดความสูญเสียและมีภูมิคุ้มกันจากผลกระทบจากการแปรปรวนสภาพภูมิอากาศ

ผลการศึกษาด้านการปรับตัวระดับครัวเรือนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการศึกษาเชิงลึกของครัวเรือนต้นแบบที่มีศักยภาพในการปรับตัวพบว่า การจัดการระบบน้ำในแปลงนาเป็นปัจจัยสําคัญที่สุด การปรับเปลี่ยนระบบการเพาะปลูกเป็นระบบเกษตรผสมผสาน การอนุรักษ์ดินและน้ำในแปลงนา การปลูกผักและเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภคในครัวเรือน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ  เหล่านี้เป็นการใช้เทคโนโลยีและองค์ความรู้พื้นบ้าน ที่สามารถลดความเสี่ยงจากผลกระทบการแปรปรวนสภาพภูมิอากาศต่อการผลิตภาคเกษตรและวิถีชีวิต ทําให้ครัวเรือนมีรายได้มั่นคงตลอดปีและสามารถดํารงชีวิตอย่างเป็นปกติสุขได้

ปี:

2554

ประเภทหนังสือ:

รายงานการวิจัย

จำนวนหน้า:

136