โลกาภิบาลมาตรฐานอาหาร: กรณีศึกษามาตรฐานข้าวอินทรีย์ไทย

โลกาภิบาลมาตรฐานอาหาร: กรณีศึกษามาตรฐานข้าวอินทรีย์ไทย

ไพลิน กิตติเสรีชัย (2561)
วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณทิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

สรุปเนื้อหา

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สามประการ ประการแรก เพื่อคลี่คลายให้เห็นถึงการทำงานของกระบวนการโลกาภิบาลมาตรฐานอาหาร โดยมีกรณีศึกษาคือมาตรฐานข้าวอินทรีย์ โดยศึกษาในแง่ของที่มา ตัวแสดงที่เกี่ยวข้อง ที่มาของสิทธิอำนาจ ตลอดจนปฏิสัมพันธ์ของตัวแสดงเหล่านั้น ประการที่สอง คือเพื่อศึกษารูปแบบการอภิบาลมาตรฐานข้าวอินทรีย์ในประเทศไทย โดยศึกษาเชื่อมโยงกับกระบวนการโลกาภิบาลมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และประการสุดท้าย คือ เพื่อ ทำความเข้าใจกับปัญหาและอุป สรรคของการอภิบาลมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในไทย และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณ ภาพโดยใช้การวิจั ยเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักที่เกี่ยวข้อง จากการวิจัยได้ข้อค้นพบว่า การริเริ่มการทำเกษตรอินทรีย์เกิดขึ้นจากตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐที่เล็งเห็นปัญหาของการเกษตรแบบสมัยใหม่ จากนั้นจึงเกิดการรวมตัว สร้างเครือข่ายระหว่างประเทศ จนเกิดเป็นองค์กรระหว่างประเทศนอกภาครัฐอย่างสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ หรือ IFOAM ที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการโลกาภิบาลมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ถึงแม้ว่า IFOAM จะไม่ได้มีสิทธิอำนาจบังคับเหมือนรัฐ และไม่ได้มีอำนาจในเชิงเศรษฐกิจเหมือนบรรษัทข้ามชาติทั้งหลาย แต่ IFOAM คือชุมชนองค์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ ที่ถือครอง ‘สิทธิอำนาจเชิงความรู้ ’ และสิทธิอำนาจดังกล่าวได้ทำงานผ่านกระบวนการโลกาภิบาลในสามมิติ ได้แก่ มิติของการวางระเบียบกฎเกณฑ์ มิติของการแข่งขันเชิงความรู้ และมิติของการเสริมพลังอำนาจ ในกรณีของประเทศไทย การอภิบาลมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แสดงให้เห็นถึงการขัดกันของสถาบันที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ การขาดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนจึงเป็นปัญหาสำคัญในการพัฒนากระบวนการอภิบาลมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในประเทศไทย

 

ดาวน์โหลดเอกสาร [download]