Climate Change in South East Asia: Scinece, Impacts, Scenarios
ผู้แต่ง : Earth Observatory of Singapore
สำนักพิมพ์ : Earth Observatory of Singapore
วันที่พิมพ์ : 2010
Summary :
เป็นจุลสารที่จัดทำขึ้นหลังจากการประชุมเชิงปฏิบัติการที่ EOS จัดขึ้นในเดือนมกราคม 2553 เกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยสรุปข้อมูลที่วิทยากรได้นำเสนอในการประชุมครั้งนั้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ประเด็นคือ

(ก) แง่มุมทางประวัติศาสตร์ (โดย Prof. Lawrence Edwards จากมหาวิทยาลัยมินิสโซตา) ที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของกรเปลี่ยนแปลงของราชวงศ์สำคัญในประเทศจีนที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะเมื่อภูมิอากาศทำให้ผลผลิตลดลง

(ข) ปัญหาการยกตัวของระดับน้ำทะเล (โดย Prof. Kurt Cuffey จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย) ที่แสดงถึงปัจจัยการยกตัวของระดับน้ำทะเลว่าเกิดจากการละลายของผืดน้ำแข็งในขั้วโลกและการที่อุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้น

(ค) แหล่งผลิตอาหาร (โดย Dr. Mark Rosegrant จาก International Food and Policy Research Institute, Dr. Reiner Wassman จาก International Rice Research Institute, และ Dr. Patrick Dugan จาก World Fish Center) ซึ่งพื้นที่จำนวนมากน่าจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งด้านบวกและด้านลบ โดยพื้นที่ในเขตประเทศพัฒนาส่วนใหญ่น่าจะมีผลผลิตข้าวลดลง ในขณะที่ประเทศพันาแล้วน่าจะมีผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น (เนื่องจากอากาศที่อุ่นขึ้นและปัจจัยอื่น)  ในกรณีของข้าว 4 ปัจจัยหลักที่มีผลกระทบต่อการเพาะปลูกข้าว คือ อุณหภูมิที่สูงขึ้น (ซึ่งส่งผลทำให้ดอกข้าวเป็นหมัน), การเปลี่ยนแปลงแบบแผนของการตกของฝน, การยกตัวของระดับน้ำทะเล, และลมพายุที่รุนแรง (ทำให้ข้าวจมน้ำ)

(ง) การอพยพย้ายถิ่น (โดย Prof. Graeme Hugo จากมหาวิทยาลัยเอดดิเลค และ Federico Soda จาก International Organization for Migration) ซึ่งระบุถึงการอพยพย้ายถิ่น ซึ่งแต่เดิมมีปัจจัยหลายประการที่ผลักดันให้ประชาชนย้ายถิ่นอยู่แล้ว และแรงกดดันจากทรัพยากรที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็จะเป็นปัจจัยที่เร่งขับให้มีการอพยพย้ายถิ่น (โดยเฉพาะภายในประเทศ) เพิ่มขึ้น

(จ) จุด hotspot และภาพฉายอนาคต (จากการระดมความเห็นในกลุ่มย่อยและข้อมูลที่จัดเตรียมโดย EOS) ที่แสดงภาพของบริเวณสำคัญๆ ในภูมิภาคเอเชียที่มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมและการที่ผลผลิตธัญญพืช (ข้าว/ข้าวสาลี) มีความเสี่ยงที่ลดลง

จำนวนหน้า : 19
หมวด : การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โลกร้อน