Bioslurry: A Surpreme Fertiliser, A Study on Bioslurry Results and Uses
ผู้แต่ง : Warnars, L. and Oppenoorth, H.
สำนักพิมพ์ : Hivos
วันที่พิมพ์ : March 2014
Summary :
Bioslurry ในที่นี้หมายถึงปุ๋ยหมักที่ได้ผ่านกระบวนการหมักในถังหมักก๊าซชีวภาพ ซึ่งอินทรียวัตถุที่ใช้ในการหมักส่วนใหญ่มักจะเป็นมูลหมู หรือมูลวัว แต่ก็อาจเป็นมูลสัตว์อื่นๆ หรือแม้แต่เศษอาหารก็ได้  ปุ๋ยหมักจากกระบวนการหมักก๊าซชีวภาพนี้อาจมีคุณภาพและธาตุอาหารแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับคุณภาพของอินทรียวัตถุที่ใช้เริ่มต้นในการหมัก (ซึ่งอาจแตกต่างกันตามชนิดของสัตว์ อายุสัตว์ อาหารที่ใช้เลี้ยง ฯลฯ) รวมทั้งกรรมวิธีในการหมักด้วย  โดยทั่วไป ปุ๋ยหมักนี้มีธาตุอาหารที่พร้อมให้พืชนำไปใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม สังกะสี เหล็ก แมงกานีส และทองแดง

ปุ๋ยหมักที่ออกจากถังหมักก๊าซชีวภาพจะเป็นของเหลว ประกอบด้วยน้ำ 93% และตัวเนื้อปุ๋ยเองเพียง 7% แต่ก็อาจนำไปตากแห้ง เพื่อให้ขนย้ายได้สะดวกขึ้น แต่ธาตุอาหารบางส่วนอาจสูญเสียไป หรืออาจนำไปหมักกับซากพืช เพื่อทำปุ๋ยหมัก ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดการสูญเสียธาตุอาหาร และช่วยให้ขนส่งได้สะดวกขึ้น

มีการทดลองนำปุ๋ยหมักจากถังหมักก๊าซชีวภาพไปใช้เป็นปุ๋ย ซึ่งส่วนใหญ่พบว่า สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตได้อย่างมาก เช่น เพิ่มผลผลิตข้าวได้ 14-46% มะเขือเทศ 33-108% ข้าวโพด 92% กระหล่ำปลี 20% และมันฝรั่ง 34%

ดาวน์โหลดหนังสือได้ที่เว็บไซต์ของ Hivos [970 KB]

รหัสหนังสือ : 978-90-70435-07-3
ประเภทหนังสือ : เทคนิคเกษตรอินทรีย์
จำนวนหน้า : 48