กลุ่มเกษตรกรทำนาบากเรือ : พันธมิตรกรีนเนท

ที่ตั้ง: 118 หมู่ 4 บ้านดอนผึ้ง ตำบลบากเรือ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ซึ่งตั้งห่างจากตัวเมืองยโสธรมาทางทิศใต้ราว 35 กิโลเมตร

 

สถานะ: จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเป็นกลุ่มเกษตรกร เมื่อ 8 เม.ย. 2519

 

ประวัติ: กลุ่มก่อตั้งในปี 2519 โดยกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อจำหน่ายปุ๋ยเคมีให้เกษตรกรสมาชิก แต่ไม่นานก็ต้องหยุดกิจการ เนื่องจากไม่สามารถเก็บหนี้ค่าปุ๋ยจากสมาชิกได้ ในปี 2524 ได้เริ่มฟื้นฟูกลุ่ม แต่ก็ยังทำธุรกิจหลักเกี่ยวกับการขายปุ๋ยเคมีให้สมาชิก ในปี 2530 กุล่มได้เริ่มซื้อข้าวเปลือกจากสมาชิก เพื่อขายให้กับโรงสีทั่วไป ในปี 2541 ได้เริ่มตั้งโรงสีขนาดเล็ก เพื่อสีข้าวให้กับชาวบ้านในหมู่บ้าน ต่อมาในปี 2547 จึงได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ เพื่อก่อสร้างโรงสี

ในปี 2549 มีองค์กรพัฒนาเอกชนเริ่มเข้ามาทำงานส่งเสริมเรื่องการลดการใช้สารเคมีการเกษตรในการปลูกข้าว และต่อมาในปี 2542 ได้เริ่มทำงานร่วมกับกรีนเนท เพื่อผลิตข้าวเกษตรอินทรีย์

 

สภาพพื้นที่: ระบบการเกษตรทั่วไปเป็นนาน้ำฝน ที่เกษตรกรทำนาปีละครั้ง โดยปลูกข้าวเหนียวไว้สำหรับบริโภคในครัวเรือน และปลูกข้าวหอมมะลิเพื่อจำหน่าย การทำนาโดยส่วนใหญ่จะทำนาหว่าน (เนื่องจากขาดแคลนแรงงานดำนา) และเกี่ยวข้าวโดยการจ้างรถเกี่ยว ผลผลิตข้าวเปลือกค่อนข้างต่ำ ประมาณ 350 กิโลกรัม/ไร่ เพราะมักประสบปัญหาแล้ง/ฝนทิ้งช่วง

 

แรงงาน: ใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลัก อาจมีการแลกเปลี่ยนแรงงานกับเพื่อนบ้านบ้างถ้าจำเป็น ส่วนโรงสีข้าว มีการจ้างแรงงานประจำและแรงงานชั่วคราว

 

กิจกรรมหลักของกลุ่ม: รวบรวมข้าวเปลือกจากเกษตรกรสมาชิก และสีข้าว ผลิตน้ำมันรำข้าว

 

รับรองมาตรฐาน:
* เกษตรอินทรีย์กับ มกท. (ตั้งแต่ปี 2542)
* GMP และ HACCP (ตั้งแต่ปี …)

 

รางวัล: ไม่มี

 

โครงการสนับสนุนจากกรีนเนท:

* พ.ค. – ธ.ค. 51 โครงการพัฒนาการจัดการน้ำในระบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อบรรเทาปัญหาโลกร้อน จังหวัดยโสธร (ร่วมกับมูลนิธิสายใยแผ่นดิน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การอ๊อกแฟม)
* ก.ค. 53 – มิ.ย. 54 โครงการสนับสนุนการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (ร่วมกับมูลนิธิสายใยแผ่นดิน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ)
* มี.ค. 54 – ส.ค. 56 โครงการพัฒนาและขยายผลต้นแบบการปรับตัวของชุมชนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อความมั่นคงทางอาหาร ในประเทศไทย (ร่วมกับมูลนิธิสายใยแผ่นดิน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การอ๊อกแฟมและสหภาพยุโรป)
* กองทุนแฟร์เทรดพรีเมี่ยม: เงินชดเชยภัยจากสภาพอากาศ 2554/2556/2557
* กองทุนแฟร์เทรดพรีเมี่ยม: อบรมโลกร้อน 2554
* กองทุนแฟร์เทรดพรีเมี่ยม:กลุ่มพลังงานพอเพียง 2555
* กองทุนแฟร์เทรดพรีเมี่ยม: การพัฒนาตลาดสีเขียว จังหวัดยโสธร 2555
* กองทุนแฟร์เทรดพรีเมี่ยม: ศึกษาดูงานการปลูกพริกในระบบเกษตรอินทรีย์ 2560
* กองทุนแฟร์เทรดพรีเมี่ยม: อบรมผู้ตรวจระบบควบคุมภายใน กลุ่มเกษตรกรทำนาบากเรือ 2560
* กองทุนแฟร์เทรดพรีเมี่ยม: เงินชดเชยภัยจากสภาพอากาศ 2562