มูลนิธิชีววิถี
2555
เรียบเรียงจากงานวิจัยของโครงการขับเคลื่อนประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ ตามสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 1 พ.ศ. 2551 สู่การปฏิบัติ (ปี 2552 – 2553) โดยเนื้อหาของหนังสือในบทที่ 1 เริ่มจากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับแนวคิดและนิยาม และองค์ประกอบของความมั่นคงทางอาหาร ทั้งในแนวคิดกระแสหลักและในมิติต่างๆ (เช่น มิติความเประาบาง, มิติชุมชน, มิติสิทธิทางอาหาร, มิติอธิปไตยทางอาหาร เป็นต้น) ในบทที่ 2 อธิบายถึงพัฒนาการและประเภทของดัชนีความมั่นคงทางอาหารแบบต่างๆ ส่วนบทที่ 3 อธิบายตัวอย่างของเครื่องมือชี้วัด เช่น มาตรวัดความไม่มั่นคงทางอาหารในมิติการเข้าถึงอาหารของครัวเรือน, เครื่องมือจำแนกช่วงความมั่นคงทางอาหาร, การใช้ข้อมูลการสำรวจค่าใช้จ่ายครัวเรือนในการวัดความมั่นคงทางอาหาร และระบบแผนที่และข้อมูลสารสนเทศ ในบทที่ 4 เป็นตัวอย่างการศึกษาดัชนีชี้วัดความมั่นคงอาหารในประเทศไทย ซึ่งมีอยู่ 4 กรณีศึกษา และบทสุดท้ายเป็นบทสังเคราะห์และสรุป
978-974-365-243-1
128
ความมั่นคงด้านอาหาร