ตลาดเกษตรอินทรีย์: ภาพรวม
การผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว จากการศึกษาของสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements – IFOAM) พบว่า ตลาดผลผลิตเกษตรอินทรีย์ในปี พ.ศ. 2547 น่าจะมีมูลค่าสูงถึง 27,800 ล้านดอลลาร์ (ราว 1.05 ล้านล้านบาท) และมีการขยายตัวประมาณ 7-9 % ซึ่งการเจริญเติบโตของตลาดเริ่มจะลดลง จากเดิมในช่วงที่ผ่านมา ที่เคยขยายตัวปีละ 10-15 % โดยตลาดใหญ่จะอยู่ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งรวมกันมีส่วนแบ่งราว 96% ของ ตลาดเกษตรอินทรีย์โลก

ตลาดเกษตรอินทรีย์ในประเทศกำลังพัฒนา ดูเหมือนกำลังเริ่มเติบโตขึ้นเช่นกัน แม้ว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนาจะมีกำลังซื้อค่อนข้างต่ำ รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ไม่มากนัก แต่ก็พบว่า ตลาดเกษตรอินทรีย์ในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศเริ่มขยายตัวขึ้นอย่าง รวดเร็ว ทั้งนี้เพราะผู้ผลิตและผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ในประเทศเหล่านี้ต้องการหา แหล่งในการระบายผลผลิตเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากตลาดส่งออก (ทั้งผลผลิตที่เกินความต้องการส่งออก และผลผลิตในระยะปรับเปลี่ยน) เพื่อสร้างเสถียรภาพทางการตลาด ทำให้การพัฒนาตลาดในประเทศเหล่านี้มีลักษณะแบบตลาดที่เกิดจากแรงผลักดันจาก ผู้ผลิต มากกว่าเป็นตลาดที่พัฒนาจากความต้องการของผู้บริโภค

แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดเกษตรอินทรีย์ในประเทศเหล่านี้มักจะต้องแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ “ธรรมชาติ” “อนามัย” “ปลอดสารเคมี” หรือแม้แต่เกษตรอินทรีย์ที่ไม่มีการรับรองมาตรฐาน ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความสับสนระหว่างผลิตภัณฑ์ต่างมาตรฐานเหล่านี้ ปัญหาดังกล่าวน่าจะเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาตลาดเกษตรอินทรีย์ในระยะยาว ของประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งควรจะมีการจัดหามาตรการที่เหมาะสม เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

ในประเทศไทย ตลาดเกษตรอินทรีย์น่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2533/34 โดยกระแสความตื่นตัวด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค โดยเฉพาะการบริโภค “อาหารเพื่อสุขภาพ” ที่ผู้บริโภคตื่นตัวเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของการรักษาสุขภาพและการบริโภค อาหารที่ปลอดภัยและมีประโยชน์ จนทำให้ “ธุรกิจอาหารสุขภาพ” เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ตลาดผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ได้เริ่มเปิดตัวขึ้น โดยร้านค้าแรกๆ ที่เปิดดำเนินการ คือ ร้านกรีนการ์เดน ในช่วงหลังจากนั้น คือระหว่างปี พ.ศ. 2535-40 ถือได้ว่าเป็นยุคทองของ ร้านสุขภาพ ประมาณว่า มีร้านค้าขนาดเล็กที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพทั่วประเทศไม่น้อยกว่า 100 ร้าน

แต่อย่างไรก็ตาม หน่วยงานราชการในขณะนั้นมีนโยบายในการส่งเสริม “อาหารปลอดภัย” (เช่น ผักอนามัย ผักปลอดภัยจากสารพิษ) ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนระหว่างความแตกต่างของผลผลิตอาหารปลอดภัย กับเกษตรอินทรีย์ ส่งผลให้ตลาดเกษตรอินทรีย์ในประเทศมีการเติบโตได้ค่อนข้างช้า ผนวกกับการวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงปี พ.ศ. 2541 ส่งผลให้ตลาดเกษตรอินทรีย์ประสบกับภาวะชงักงันไประยะหนึ่ง

ตลาดเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2546 เมื่อมีการจัดประชุมนานาชาติเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย โดยสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization – FAO) โดยมูลนิธิสายใยแผ่นดินและกรีนเนทเป็นเจ้าภาพหลัก การมีกิจกรรมเกษตรอินทรีย์ระหว่างประเทศในครั้งนั้นกระตุ้นให้เกิดความสนใจ ทั้งในการผลิต การบริโภค และการผลักดันนโยบายด้านเกษตรอินทรีย์อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ส่งผลให้มีการฟื้นตัวของตลาดเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสำคัญอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการขยาย ตัวของตลาดเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น อาทิเช่น
* การใช้ตรารับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ของสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) และของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งทำให้ผู้บริโภคสามารถแยกแยะความแตกต่างรหะว่างผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์กับผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยได้สะดวกมากขึ้น
* มีผู้ประกอบการค้าปลีกเฉพาะทาง ที่มีนโยบายการตลาดเกษตรอินทรีย์โดยเฉพาะ เช่น ร้านเลมอนฟาร์ม
* ผู้ประการค้าปลีกขนาดใหญ่ โดยเฉพาะโมเดิร์นเทรด ได้เริ่มเห็นแนวโน้มทิศทางของตลาดเกษตรอินทรีย์ จึงได้เริ่มนำสินค้าออร์ฉกนิคมาจำหน่าย เช่น Carrefour, Top, Emporium และ Siam Paragon

กรีนเนท/มูลนิธิสายใยแผ่นดิน ประมาณการว่า ตลาดเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2548 น่าจะมีมูลค่าราว 494.5 ล้านบาท

รูปแบบตลาดเกษตรอินทรีย์

การตลาดผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์สามารถจำแนกได้เป็น 4 รูปแบบดังนี้

การตลาดระบบสมาชิก
เป็นรูปแบบการตลาดที่เก่าแก่ที่สุดของขบวนการเกษตรอินทรีย์ ที่เชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค เช่น ระบบ TEIKEI ในประเทศญี่ปุ่น หรือระบบ Community Support Agriculture (CSA) และระบบ BOX ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ระบบตลาดนี้มีหลักการพื้นฐานว่า ผู้บริโภคตกลงกับเกษตรกรผู้ผลิต ในการซื้อผลผลิตเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตได้ตามฤดูกาล โดยผู้บริโภคจะชำระเงินล่วงหน้าให้กับเกษตรกร หลังจากเก็บเกี่ยว ผลผลิตจะถูกจัดส่งไป ณ จุดกระจายย่อยตามที่ตกลง แล้วสมาชิกผู้บริโภคที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงจะเป็นผู้มารับผลผลิตด้วยตนเอง การตลาดระบบนี้ เกษตรกรจะมีหลักประกันทาง เศรษฐกิจ และมีโอกาสในการสื่อสารโดยตรงกับผู้บริโภค ส่วนผู้บริโภคเองก็สามารถไป เยี่ยมเยือนฟาร์มเกษตรกร เพื่อดูการผลิต หรือช่วยเกษตรกรทำงานในฟาร์มก็ได้
การตลาดในระบบนี้มีผลดี ในแง่ของความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตและ ผู้บริโภค แต่ข้อจำกัดก็คือ เกษตรกรต้องมีฟาร์มที่อยู่ไม่ห่างจากเมืองใหญ่มากนัก และจำเป็นต้องมีรถยนต์สำหรับใช้ในการขนส่งเอง นอกจากนี้การตลาดระบบสมาชิกใช้ได้กับฟาร์มที่ปลูกผักเกษตรอินทรีย์เป็นหลัก (แต่ก็อาจมีผลผลิตอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ข้าว ไม้ผล ไข่ไก่) ในขณะที่เกษตรกรอินทรีย์ที่ผลิตข้าว ธัญพืช หรืออาหารแปรรูป จะไม่สามารถใช้การตลาดในระบบนี้ได้
ในประเทศไทย มีกลุ่มผู้ผลิต “ชมรมผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ สุพรรณบุรี” ที่ดำเนินการตลาดในแนวทางนี้อยู่ในปัจจุบัน

ตลาดนัด
ตลาดนัดส่วนใหญ่จะอยู่ในท้องถิ่นหรือหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด โดยส่วนมากมักจัดในสถานที่ที่มีผู้บริโภคอยู่หนาแน่น เช่น โรงพยาบาล ในเขตสถานที่ราชการ หรืออาจเป็นที่ว่าง ที่ผู้บริโภคสะดวกในการมาหาซื้อผลผลิต ตลาดนัดนี้มักจะเปิดเฉพาะวันที่แน่นอน แต่ไม่เปิดทุกวัน เช่น ทุกวันศุกร์ หรือวันเสาร์ โดยมากจะเปิดขายเพียงครึ่งวัน หรืออาจนานทั้งวันเลยก็ได้ โดยผู้ผลิตต้องมีมาจากหลากหลายกลุ่ม เพื่อจะได้มีผลผลิตที่หลากหลายมาจำหน่าย
ตลาดนัดเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยที่น่าสนใจ คือ ที่ “กาดนัดเกษตรอินทรีย์” ที่ตลาดเจเจ จังหวัดเชียงใหม่

การตลาดช่องทางเฉพาะ
เป็นการตลาดที่ดำเนินการโดยผู้ประกอบการที่มีนโยบายในด้านเกษตรอินทรีย์ อาหารสุขภาพและผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน สามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบ เช่น ร้านขายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม หรือซูเปอร์มาร์เก็ตเกษตรอินทรีย์ การตลาดในลักษณะนี้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากกว่าการตลาดระบบสมาชิก และมีผลผลิตที่หลากหลายจากเกษตรกรที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตเฉพาะทาง รวมทั้งอาจมีการแปรรู ผลิตภัณฑ์แบบง่ายๆ มากกว่าด้วย
ตัวอย่างของการตลาดเฉพาะทางในประเทศไทย คือ ร้านเลมอนฟาร์ม, ร้านไทสบาย เป็นต้น

การตลาดทั่วไป
ในหลายประเทศที่ตลาดเกษตรอินทรีย์ได้พัฒนาไประดับหนึ่ง จะพบว่าช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จะขยายไปสู่ระบบตลาดทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโมเดิร์นเทรด ที่เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตและห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ที่เป็นเช่นนี้เพราะ เมื่อความต้องการผลิตภัณฑ์เริ่มขยายตัวชัดเจน ผู้ประการค้าปลีกในตลาดทั่วไปย่อมเห็นโอกาสในทางการค้า และปรับตัวเพื่อดึงส่วนแบ่งการตลาด และสร้างภาพพจน์ให้กับหน่วยงานของตน การเข้ามาของตลาดประเภทนี้จะทำให้เกิดการแข่งขันกันในตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะการริเริ่มหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทั้งจากภายในประเทศหรือต่างประเทศ รวมไปถึงการแข่งขันทางราคาด้วย

ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์

ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากพิษภัยที่ได้รับจากอาหารมีเพิ่ม ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นสารพิษตกค้างในผักผลไม้ หรือสารเคมีที่ใส่เสริมเข้าไปเพื่อยืด อายุของอาหาร เช่น ฟอร์มาลิน, บอแรกซ์ (น้ำประสานทอง/ผงกรอบ), สารฟอกขาว และสี สังเคราะห์ เป็นต้น ในประเทศไทย มีผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์อยู่ค่อนข้างมาก อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์จำนวนไม่น้อยที่ระบุว่าเป็นผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ, ปลอดสารเคมี, ปลอดภัยจากสารพิษ และไร้สารพิษ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีความแตกต่างกับผลิต ภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ที่มาตรฐานการรับรอง เพราะมาตรฐานการผลิตเหล่านี้อนุญาตให้มีการ ใช้สารเคมีการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีฆ่าแมลง สารป้องกันกำจัดเชื้อรา สารเคมีกำจัดวัชพืช และปุ๋ยเคมี
ในส่วนของผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์นั้น ยังสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

ผลผลิตอินทรีย์ยังไม่รับรองตามมาตรฐาน
ผู้ผลิตเริ่มต้นทำการผลิตตามแนวทางเกษตรอินทรีย์ โดยอยู่ในระยะพัฒนาการผลิต แต่ยังไม่ได้สมัครขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จากหน่วยงานตรวจสอบรับรอง มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ แต่มีการตรวจ สอบภายในระดับกลุ่มด้วยตัวเอง

ผลผลิตอินทรีย์ระยะปรับเปลี่ยน
พื้นที่การผลิตที่ขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จากหน่วยงานตรวจสอบและรับรอง มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เชื่อถือได้ และได้รับการรับรองว่าระบบการผลิตอยู่ในระหว่าง “ระยะปรับเปลี่ยน” ซึ่งถือเป็นช่วงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและความอุดมสมบูรณ์ของดินและช่วงสลาย ตัวของสารเคมีการเกษตรที่อาจตกค้างมาก่อน โดยทั่วไป ช่วงระยะการปรับเปลี่ยนของการผลิตพืชล้มลุก (ผักและพืชไร่) จะใช้เวลา 12 – 24 เดือน ส่วนการผลิตไม้ยืนต้น มีช่วงระยะการปรับเปลี่ยนจะใช้เวลา 18 – 36 เดือน แต่ทั้งนี้หน่วยตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์อาจเพิ่มหรื20 August, 2010อนหน้านั้น

ผลผลิตอินทรีย์รับรองมาตรฐาน
ผลผลิตที่ได้จากระบบการผลิตที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่มีการใช้สารเคมีสังเคราะห์ สารเคมีทางการเกษตรและปุ๋ยเคมี รวมถึงเป็นระบบที่เกื้อกูลต่อสิ่งแวดล้อม โดยพื้นที่ทำการผลิตได้รับการตรวจสอบและรับรองจากหน่วยตรวจรับรองมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ และผ่านระยะปรับเปลี่ยนแล้ว