มกท. เตรียมให้บริการส่งออกไปแคนาดาและอเมริกา
[กรีนเนท]  สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) เตรียมเปิดให้บริการใหม่ สำหรับผู้ผลิตและผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ในการส่งสินค้าเกษตรอินทรีย์ไป ขายในแคนาดาและสหรัฐอเมริกา หลังจากที่ทาง มกท. ได้รับการรับรองระบบงานจาก Canadian Food Inspection Agency ตามข้อกำหนดของกฎระเบียบเกษตรอินทรีย์ของแคนาดา (Canadian Organic Regime – COR) ตามข้อกำหนด CAN/CGSB 32.310 และ CAN/CGSB 32.311 ตั้งแต่เมื่อ 30 มิถุนายน 2552 โดยการตรวจประเมินของ International Organic Accreditation Service (IOAS) ซึ่งเป็นกลุ่มหน่วยงานตรวจสอบรับรองกลุ่มแรกที่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาล แคนาดาเพราะกฎระเบียบเกษตรอินทรีย์ของแคนาดาเองเพิ่งเริ่มประกาศใช้เมื่อ 30 มิถุนายน 2552 เช่นเดียวกัน การรับรองระบบงานนี้เฉพาะสำหรับผู้ประกอบการในประเทศไทยก่อน แต่ทาง มกท. ได้ขอขยายขอบเขตการตรวจรับรองให้ครอบคลุมภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ด้วย

ที่ ผ่านมา แม้ว่าจะได้รับการยอมรับระบบงานมาเกือบหนึ่งปี แต่ยังไม่มีผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ที่ขอการรับรองจาก มกท. เพราะไม่มีผู้ส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ไปจำหน่ายในแคนาดามากนัก แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทางเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรสหรัฐที่รับผิดชอบแผนงานเกษตรอินทรีย์แห่ง ชาติ (National Organic Program – NOP) ได้ประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับข้อตกลงการยอมรับระบบการตรวจรับรองมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์แบบทัดเทียมกันระหว่างสหรัฐอเมริกาและแคนาดา (ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวได้จัดทำแล้วเสร็จตั้งแต่เมื่อกลางปี 2552 ที่ผ่านมา) ว่า ผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ในต่างประเทศ (ไม่ใช่เฉพาะในแคนาดาเท่านั้น) ที่ได้รับการรับรองตามระบบของ COR สามารถใช้ตราของ NOP ได้โดยอัตโนมัติ เพราะถือว่าระบบการตรวจรับรองมีความทัดเทียมกันแล้ว (แต่ในการใช้ตราของ NOP ก็ต้องเป็นไปข้อกำหนดการใช้ตราของ NOP ด้วย)
ผลที่ตามมาก็คือ ผู้ประกอบการไทยที่สนใจส่งสินค้าเกษตรอินทรีย์ไปขายในสหรัฐอเมริกาจึงหันมา สนใจในบริการตรวจรับรองของ มกท. เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

ข้อกำหนดมาตรฐานการผลิตของแคนาดา (CAN/ CGSB 32.310-2006 October 2008) ที่เพิ่มเติมจากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ มกท. คือ
1. ปัจจัยการผลิตในฟาร์ม หรือในการแปรรูปที่ห้ามใช้ ที่เพิ่มเติมจากมาตรฐานของ มกท. คือ
– สารเคมีรักษาเนื้อไม้ เช่น arsenate เฉพาะในกรณีของเสารั้ว หรือเสาไม้ที่ใช้ในฟาร์ม
– กากตะกอนจากน้ำเสีย (sewage sludge) ทุกรูปแบบ สำหรับปรับปรุงดิน
– สารปรุงแต่งและสารช่วยแปรรูปสังเคราะห์ รวมถึง ซัลเฟต ไนเตรท และไนไตรท์ ยกเว้นที่มาตรฐานอนุญาตให้ใช้
– อุปกรณ์ วัสดุหุ้มห่อ ภาชนะบรรจุ หรือ ถังที่มีสารเคมีกำจัดเชื้อรา สารเคมีกันบูด หรือสารรมที่เป็นสารสังเคราะห์
– สารอื่นที่ไม่ได้อนุญาตไว้ในรายชื่อสาร CAN/CGSB-32.311

2. ระยะปรับเปลี่ยนก่อนที่ผลผลิตจะสามารถจำหน่ายเป็นเกษตรอินทรีย์ได้
– ระยะปรับเปลี่ยน12 เดือน แต่ที่ดินจะต้องไม่ใช้สารเคมีต้องห้ามมานานไม่น้อยกว่า 36 เดือน ถึงจะเก็บเกี่ยวเป็นผลผลิตเกษตรอินทรีย์ได้
ในช่วงระยะปรับเปลี่ยน 12 เดือน ฟาร์มนั้นต้องได้รับการตรวจสอบรับรองจาก มกท.
– กรณีที่มีความเสี่ยงปนเปื้อน ต้องทำแนวกันชนขนาดกว้าง 8 เมตรหรือมากกว่า ขึ้นกับระดับความเสี่ยง หรือ ปลูกพืชเป็นแนวกันชน หรือมีสิ่งกีดขวางที่เป็นกายภาพ (เช่น ถนน) ที่ป้องกันการปนเปื้อน
– กรณีที่ใช้เสา หรือ หลักไม้ที่อบ/ทา ด้วยสารเคมีต้องห้าม กรณีที่ใช้มาก่อนขอรับรอง มกท. อาจอนุญาตให้ใช้เสา/หลักไม้นั้นซ้ำภายในฟาร์มได้ แต่สำหรับเสาหรือหลักไม้ใหม่ที่จะนำเข้ามาใช้ในฟาร์มเกษตรอินทรีย์ต้องไม่มี การใช้สารต้องห้าม

3. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์
ในช่วงที่ใส่ปุ๋ย ต้องวางแผนการใส่ปุ๋ยโดยกำหนดระยะเวลา อัตราที่ใช้ และวิธีการใส่ โดย
ก. ป้องกันไม่ให้เกิดการชะล้างหน้าดินลงสู่แหล่งน้ำ ได้แก่ บ่อน้ำ แม่น้ำ ลำห้วย
ข. ไม่เป็นสาเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของน้ำทั้งในดินและบนผิวดิน
กรณีทีใช้มูลสัตว์ที่ไม่ผ่านการหมัก หรือมูลสัตว์ชนิดเหลว ต้อง