เกษตรกรอินทรีย์ในสหรัฐฟ้องศาล ร้องการตรวจรับรองแบบกลุ่มผิดกฏหมาย

นาย Bruce Kaser เกษตรกรอินทรีย์ปลูกเฮเซลนัทในรัฐโอริกอน ร่วมกับหน่วยงาน OrganicEye (หน่วยงานเอกชน ที่ทำงานตรวจสอบรรษัทและนโยบายด้านเกษตรอินทรีย์) ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสหพันธรัฐ กล่าวหาว่า การออกระเบียบการตรวจรับรองแบบกลุ่ม (grower group certification) ของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกาผิดกฏหมายเกษตรอินทรีย์สหรัฐปี 2534 (Organic Foods Production Act of 1990)

ขบวนการเกษตรอินทรีย์ได้พัฒนากลไกการตรวจรับรองแบบกลุ่มมานานกว่า 30 ปี เพราะการตรวจรับรองแบบฟาร์มเดี่ยว มีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป ทำให้เกษตรกรรายย่อยในประเทศกำลังพัฒนา ไม่สามารถเข้าถึงบริการตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ได้ โดยหลักเกณฑ์สำคัญคือ กลุ่มจะต้องจัดทำระบบควบคุมภายใน (Internal Control System – ICS) เพื่อเป็นหลักประกันว่า สมาชิกกลุ่มได้ปฏิบัติตามมาตรฐาน-ข้อกำหนดเกษตรอินทรีย์จริงๆ ซึ่งทาง IFOAM ได้เริ่มจัดทำข้อกำหนดสากลในเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 2546/47 ซึ่งต่อมาประเทศต่างๆ ได้เริ่มจัดทำข้อกำหนดของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นแคนาดา ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีเกษตรกรกว่า 2.6 ล้านครอบครัว ในประเทศกำลังพัฒนากว่า 58 ประเทศ ที่อยู่ภายใต้การตรวจรับรองในระบบนี้

กระทรวงเกษตรสหรัฐได้ประกาศข้อกำหนดการตรวจรับรองแบบกลุ่มนี้ตั้งแต่ต้นปี 2566 และจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 มีนาคม 2567 นี้ แต่การฟ้องศาลนี้ ทางผู้ฟ้องคิดว่า สร้างความไม่เป็นธรรมให้กับเกษตรกรในสหรัฐอเมริกา ที่ต้องขอการรับรองแบบฟาร์มเดี่ยว ซึ่งทำให้เกษตรกรชาวอเมริกันไม่สามารถแข่งขันกับเกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนาได้

สนใจอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Organic Insider, “If Grower Groups are Deemed Illegal, Industry Executives Foresee Chaos in Organic