อัพเดทเกษตรอินทรีย์โลก: ประเทศไทย มาไว – อาจจะไปไวด้วย

ในปี 2562 มีเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นเป็น 3.1 ล้านครอบครัว โดยทำการผลิตในพื้นที่เกษตรอินทรีย์ (ที่ได้รับการรับรอง) 451.875 446.88 ล้านไร่ (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าเกือบ 5 ล้านไร่) ทำให้พื้นที่เกษตรอินทรีย์คิดเป็นสัดส่วนราว 1.5% ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด

 

เป็นปีสองที่ประเทศไทยได้ขึ้นติดอับดับ 10 ประเทศที่มีเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ โดยประเทศไทยได้ขยับจากลำดับที่ 8 ของประเทศที่มีผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์จำนวนมากมาเป็นลำดับ 5 โดยประเทศอินเดียยังคงครองแชมป์ประเทศที่มีเกษตรกรอินทรีย์มากที่สุด (1.366 ล้านครอบครัว) รองลงมาคือ ยูกานดา เอธิโอเปีย แทนซาเนียแล้วจึงประเทศไทย (118,985 ครอบครัว) แต่ถ้าดูในเชิงของพื้นที่เกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรอง ประเทศไทยน่าจะอยู่ลำดับที่ 50 กว่า (จากทั้งหมด 186 ประเทศ)

 

นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ธรรมชาติ ที่ได้รับการรับรองเกษตรอินทรีย์ (พื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตป่า-ธรรมชาติ) ในปี 2562 อีก 217.5 ล้านไร่

 

ตลาดเกษตรอินทรีย์โลกขยายตัวราว 9.6% รวมมีมูลค่า 106 พันล้านยูโร (3.71 ล้านล้านบาท) โดยตลาดออร์แกนิคที่ใหญ่ที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา (44.7 พันล้านยูโร) รองลงมาคือ เยอรมัน (12.0 พันล้านยูโร) และฝรั่งเศส (11.3 พันล้านยูโร)

 

สำหรับสถิติเกษตรอินทรีย์ไทย ที่เก็บรวบรวมโดยมูลนิธิสายใยแผ่นดิน-กรีนเนท พบว่า ในปี 2562 เรามีเกษตรกร 118,985 ครอบครัวที่ทำเกษตรอินทรีย์ โดยมีพื้นที่ที่ได้รับการรับรอง 1.778 ล้านไร่ โดยพื้นที่เกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่ของไทยเป็นนาข้าว (1.056 ล้านไร่) ซึ่งเป็นผลจากโครงการ “ข้าวอินทรีย์ล้านไร่” ของกรมการข้าว ที่เริ่มต้นในปี 2560 ที่ทำให้ข้าวอินทรีย์ไทยขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่โครงการนี้ จะหมดลงในปี 2564 นี้ ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่า จะส่งผลให้การรับรองลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงปีหน้าด้วย

 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหนังสือ “The World of Organic Agriculture. Statistics and Emerging Trends 2021” สั่งซื้อได้ที่เว็บไซต์ของ FiBL [link]