L

life cycle assessment – LCA [การประเมินวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์]

บางครั้งอาจเรียก “การประเมินวัฏจักรชีวิต” ซึ่งเป็นกระบวนการวิเคราะห์และประเมินค่าผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมตลอดช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การสกัดหรือการได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่งและการแจกจ่าย การใช้งานผลิตภัณฑ์ การใช้ใหม่/แปรรูปและการจัดการเศษซากของผลิตภัณฑ์หลังจากการใช้งาน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นการพิจารณาผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ขั้นแรกสุดของการผลิตจนการกำจัดขยะ/ของเสียที่จากการการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ  (From Cradle to Grave)  โดยการประเมินจะมีการพิจารณาถึงปริมาณพลังงานและวัตถุดิบที่ใช้ รวมถึงปริมาณของเสียที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมด้วย

ในการประเมินวัฎจักรชีวิตนั้นมีขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอน คือ การกำหนดเป้าหมายและขอบเขต (Goal and Scope) การวิเคราะห์บัญชีรายการด้านสิ่งแวดล้อม (Life Cycle Inventory) การประเมินผลกระทบตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Impact Assessment) การแปรผล (Interpretation) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. การกำหนดเป้าหมายและขอบเขต (Goal and Scope) ประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมายและขอบเขตหน้าที่ของผลิตภัณฑ์ (Product function) หน่วยการทำงาน (Functional unit) ขอบเขตระบบ (System boundary) และระบบผลิตภัณฑ์ (Product System) ขั้นตอนนี้มีอิทธิพลโดยตรงต่อทิศทางและความละเอียดในการศึกษา จึงนับว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก เพราะถ้าการกำหนดเป้าหมายและขอบเขตใม่ครอบคลุมดีพอ จะทำให้การประเมินสารที่เข้าและสารที่ออกจากระบบหรือประโยชน์ที่จะได้รับจากการปรับปรุงระบบนั้นทำได้ยากและไม่ตรงประเด็น
  2. การวิเคราะห์บัญชีรายการด้านสิ่งแวดล้อม (Life Cycle Inventory) เป็นการเก็บรวบรวมและคำนวณข้อมูลที่ได้จากกระบวนการต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในขั้นตอนการกำหนดเป้าหมายและขอบเขตการศึกษา ขั้นตอนนี้รวมถึงการสร้างผังของระบบผลิตภัณฑ์การคำนวนหาปริมาณของสารขาเข้าและสารขาออกจากระบบผลิตภัณฑ์ โดยพิจารณาถึง ทรัพยากรและพลังงานที่ใช้หรือการปล่อยของเสียออกสู่อากาศ น้ำและดิน
  3. การประเมินผลกระทบตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Impact Assessment) เป็นการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของระบบผลิตภัณฑ์ จากข้อมูลการใช้ทรัพยากรและการปล่อยของเสียหรือสารขาเข้าและขาออกที่ได้จากขั้นตอนการวิเคราะห์บัญชีรายการด้านสิ่งแวดล้อม โดยการประเมินผลกระทบเกี่ยวข้องกับประเด็นหลักๆ คือ การนิยามประเภท (Category Definition) การจำแนกประเภท (Classification) การกำหนดบทบาท (Characterization) และการให้น้ำหนักแก่แต่ละประเภท (Weighting)
  4. การแปลผล (Interpretation) เป็นการนำผลการศึกษามาวิเคราะห์เพื่อสรุปผล พิจารณาข้อจำกัดการให้ข้อเสนอแนะที่มาจากผลการทำประเมินวัฎจักรชีวิตหรือการวิเคราะห์บัญชีรายการด้านสิ่งแวดล้อมและทำรายงานสรุปการแปลผลการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับเป้าหมายและขอบเขตของการศึกษา

 

ยกตัวอย่าง การประเมินวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ข้าวสาร จะต้องพิจารณาประเด็นดังต่อไปนี้
1. ปัจจัยนำเข้า (Inputs) เพื่อการผลิต ได้แก่

  • กระบวนการเตรียม เมล็ดพันธุ์
  • กระบวนการเตรียมปุ๋ย/ยาฆ่าแมลง
  • กระบวนการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร
  • กระบวนการผลิต เชื้อเพลิงและอื่นๆ

2. กระบวนการ (ในทุ่งนาปลูกข้าว) ประกอบไปด้วย

  • กระบวนการที่เกี่ยวเนื่องกับกำลังคนและแรงงาน
  • กระบวนการของธรรมชาติโดยรอบ
  • ความผันแปรของบริบทต่างๆ เช่น

3. ผลผลิต (outputs) กำไร ต้นทุน

  • กระบวนการที่ได้มาซึ่งผลผลิตข้าว (Main product)
  • ผลผลิตพลอยได้ (สิ่งที่ต้องการ)
  • มลพิษ ขยะ ที่เกิดขึ้น (สิ่งที่ไม่ต้องการ)