
greenhouse gas [ก๊าชเรือนกระจก]
มีทั้งที่เป็นก๊าซธรรมชาติ (เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ และโอโซน) และก๊าซที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับใช้ในภาคอุตสาหกรรมหลายตัวที่เป็นก๊าซเรือนกระจกด้วย (เช่น CFCs) ก๊าซเรือนกระจกจะปล่อยให้แสงอาทิตย์ส่องผ่านมายังผิวโลกได้ แต่จะป้องกันไม่ให้ความร้อนที่เกิดจากแสงอาทิตย์สะท้อนกลับออกไปนอกโลก จึงทำให้อากาศบนผิวโลกร้อนขึ้น ที่จริง โลกจำเป็นต้องมีก๊าซเรือนกระจกจำนวนหนึ่ง ในปริมาณที่เหมาะสม มิฉะนั้น โลกก็จะหนาวเย็นเกินไป แต่เนื่องจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ทำให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก๊าซเรือนกระจกแต่ละชนิดจะมีอายุไม่เท่ากัน และมีผลทำให้เกิดโลกร้อนต่างกันด้วย ตารางข้างล่างแสดงให้ถึงความเข้มข้นและอัตราเพิ่มของก๊าชเรือนกระจกต่างๆ ซึ่งเปรียบเทียบถึงช่วงอายุ และศักยภาพในการทำให้โลกร้อนเปรียบเทียบกับผลของก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการเปรียบเทียบผลกระทบจากก๊าชแต่ละชนิดประมาณ 1 กิโลกรัมในช่วงเวลา 20 ปี
ก๊าชเรือนกระจก | ศักยภาพในการทำให้โลกร้อน | ความเข้มข้นในชั้นบรรยากาศก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม (ppmv) | ความเข้มข้นในชั้นบรรยากาศในปี พ.ศ. 2541 (ppmv) | ช่วงอายุในบรรยากาศ (ปี) |
ไอน้ำ | — | 1 – 3 | 1 – 3 | 2 – 3 วัน |
คาร์บอนไดออกไซด์ | 1 | 280 | 365 | ไม่แน่นอน |
มีเทน | 21 | 0.7 | 1.75 | 12 |
ไนตรัสออกไซด์ | 310 | 0.27 | 0.31 | 114 |
HFC 23 | 12 000 | 0 | 0.000014 | 250 |
HFC 134a | 1 300 | 0 | 0.0000075 | 13.8 |
HFC 152a | 120 | 0 | 0.0000005 | 1.4 |
CF4 | 5 700 | 0.0004 | 0.00008 | >50 000 |
C2F6 | 11 900 | 0 | 0.000003 | 10 000 |
SF6 | 22 200 | 0 | 0.0000042 | 3 200 |