ร่าง พรบ. ความหลากหลายทางชีวภาพ : ช่วยหรือทำลายเกษตรอินทรีย์ไทย

โดยภาพรวมแล้ว ร่าง พรบ. ความหลากหลายทางชีวภาพ (ที่ยกร่างโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) เปิดโอกาสให้มีการคุ้มครอง “พื้นที่” และ “ชนิด” ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพของประเทศอย่างเป็นธรรม โดยการจัดสรรผลประโยชน์ให้กับชุมชนท้องถิ่นด้วย นอกจากนี้ ยังพยายามที่จะปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมและสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น ที่มีผู้นำเข้ามาในประเทศ (ทั้งอย่างถูกกฏหมายและไม่ถูกกฏหมาย) ด้วยมาตรการต่างๆ

แต่ในทางกลับกัน พรบ. นี้่ก็อาจมีผลมุมกลับต่อการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ไทยเป็นอย่างมาก และอาจมีผลต่อเรื่องสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในชนบทไทยได้ด้วย โดยเฉพาะในเรื่องการศึกษารวบรวมพันธุ์พืช/พันธุ์สัตว์พื้นบ้านในประเทศไทย (ต้องขออนุญาตจากหน่วยงานรับผิดชอบก่อน) และถ้าจะใช้ประโยชน์ในทางการค้า (เช่น ปรับปรุงพันธุ์ หรือพัฒนาองค์ประกอบของสารอาหาร/สารออกฤทธิ์) ก็จะต้องทำสัญญากับหน่วยงานรับผิดชอบ เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ก่อน

แต่ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดก็คือ การเปิดโอกาสให้มีการทดลองใช้จีเอ็มโอ ในห้อง/แปลงทดลองและการทดสอบในภาคสนาม ก็จะสามารถทำได้ เมื่อได้รับการอนุญากับหน่วยงานผู้รับผิดชอบ

พรบ. นี้ จึงค่อนข้างเป็น พรบ. แบบ two-in-one คือ เอาเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพและความปลอดภัยทางชีวภาพมาใส่รวมกัน

ข้างล่างนี้ เป็นความพยายามในการสรุปเนื้อหา ร่าง พรบ. ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นภาษาง่ายๆ เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้น

——————–

หมวด 1 บททั่วไป

* กำหนดให้การบริหารจัดการ คลช. [ขอใช้เป็นตัวย่อของ “ความหลากหลายทางชีวภาพ”] ต้องสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนท้องถิ่น และมีมาตรการระมัดระวังล่วงหน้า เพื่อควบคุมผลกระทบ ตลอดจนกำหนดความรับผิดชอบแก่ผู้ก่อให้เกิดผลกระทบ (มาตรา 8)
* ให้มีการจัดทำแผน 5 ปี จัดการ คลช. (มาตรา 10)
* สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) รับขึ้นทะเบียนเป็นชุมชนท้องถิ่น ตาม พรบ. นี้ (มาตรา 12)
* หน่วยงานแยกกันรับผิดชอบ แต่ถ้าไม่มีหน่วยที่รับผิดชอบ สผ. จะเป็นคนรับผิดชอบ (มาตรา 11)

 

หมวด 2 คณะกรรมการ คลช. แห่งชาติ
* คณะกรรมการ คลช. แห่งชาติ มีนายกฯ หรือรองนายกฯ เป็นประธาน รมต. กระทรวงทรัพฯ เป็นรอง กรรมการโดยตำแหน่งที่เป็นปลัดจากกระทรวงต่าง 8 กระทรวง และเลขาธิการสภาพัฒน์ฯ โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 8 – 10 คน และเลขาธิการ สธ. เป็นกรรมการและเลขานุการ (มาตรา 13) [สรุปคือ สัดส่วนราชการกับคนนอก = 12: 8 – 10]
* คณะกรรมการฯ มีหน้าที่หลักคือ (มาตรา 18)
– เสนอแนะและให้คำปรึกษากับนายกฯ ครม. และ รมต.
– ประกาศ/เปลี่ยน/เพิกถอน “เขตคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ” และ “กำหนดชนิดพันธุ์ให้เป็นทรัพยากรชีวภาพคุ้มครอง” โดยการใช้อำนาจของ รมต.
– จัดทำ “บัญชีปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมซึ่งสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม” และ “ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นและกิจกรรมต้องห้าม” โดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบเป็นคนประกาศ (ตัดสินใจ)
– กำหนดมาตรการบริหารจัดการ คลช. สนับสนุนชุมชน สนับสนุนการวิจัย การอนุรักษ์ ตลอดจนสร้างแรงจูงใจในการใช้ ติดตามตรวจสอบการใช้ ป้องกัน เยียวยา หรือแก้ไข เมื่อเกิดผลกระทบ รวมทั้งเมื่อการการพิพาท ก็เป็นผู้พิจารณาระงับข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานรัฐ
– ให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำ หรือกำแนวทางและมาตรการให้บุคคลหรือหน่วยงานรัฐ แต่ถ้าปฏิเสธที่่จะปฏิบัติ จะต้องทำหนังสือแจ้งเหตุผล (มาตรา 19)
* สผ. นอกจากกจะเป็นเลขานุการของคณะกรรมการแล้ว ยังมีหน้าที่และอำนาจในการพัฒนาะระบบข้อมูล เป็นศูนย์ประสานงานระหว่างหน่วยงานรัฐ รวบรวมข้อมูลการให้อนุญาตการใช้ประโยชน์ เข้ารวามการเจรจากับต่างประเทศ เป็นต้น (มาตรา 23)

 

หมวด 3 การเสริมสร้างสมรรถนะและแรงจูงใจในการใช้ประโยชน์ คลช. อย่างยั่งยืน
* กำหนดให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบพิจารณาสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นในด้านต่างๆ เช่น การมีส่วนร่วมในการทำบัญชีทรัพยากรชีวภาพ, การบริหารจัดการ คลช., ติดตามตรวจสอบการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์, การบริหารจัดการ คลช., เสนอแนวทางการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา (มาตรา 24)

 

หมวด 4 การอนุรักษ์ คลช.
* การกำหนด “เขตคุ้มครองความหลากลาย” นั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบหน่วยงานรัฐ ที่รับผิดชอบดูแลรักษา หรือเป็นเจ้าของก่อน รวมทั้งต้องรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ด้วย (มาตรา 28)
* เอกชนอาจขอให้ประกาศ “เขตคุ้มครองความหลากลาย” ในพื้นที่กรรมสิทธิ์ที่ดินของตัวเองได้ด้วย (มาตรา 29)
* สิ่งมีชีวิตที่หายาก เป็นพันธุ์เฉพาะถิ่น หรือถูกคุกคาม อาจประกาศให้เป็น “ทรัพยากรชีวภาพคุ้มครอง” (มาตรา 30)

 

หมวด 5 การใช้ประโยชน์ คลช.
* ไม่ใช้บังคับกับการใช้ทรัพยากร คลช. โดยชุมชนท้องถิ่นตามจารัตประเพณี เพื่อการยังชีพในครัวเรืนอ และการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมมนุษย์ (มาตรา 32)
* การเข้าถึงและการใช้ ตามหลักการการยินยอมโดยการแจ้งล่วงหน้า การทำข้อตกลงร่วม และการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมและยุติธรรม (มาตรา 33)
* ถ้าทรัพยากร คลช. เป็นของ/อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงาน ให้ผู้จะเข้าถึงต้องขออนุญาตกับหน่วยงาน แต่ถ้าไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ ให้ขอกับ สผ. โดยใบอนุญาตต้องกำหนดเงื่อนไขเรื่องวัตถุประสงค์ และห้ามใช้เพื่อการค้า (มาตรา 34)
* ถ้าจะใช้ประโยชน์ทรัพยากร คลช. เพื่อการค้า จะต้องจัดทำข้อตกลงแบ่งปันผลกระโยชน์ก่อน โดยข้อตกลงนี้ อาจแบ่งปันผลประโยชน์ที่คำนวณเป็นเงินไม่ได้ด้วย และจัดสัดส่วนให้เป็นธรรม โดยจัดสรรให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบ ชุมชนท้องถิ่นที่เป็นแหล่งทรัพยากร และ สผ. (มาตรา 36)
* เงินรายได้ที่หน่วยงานได้รับ (จากข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ เงินอุดหนุนจากรัฐ ค่าปรับตาม พรบ. เป็นต้น) ไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน แต่ให้เก็บไว้ใช้ในการอนุรักษ์ คุ้มครอง บริหารจัดการ และช่วยเหลือ/อุดหนุนชมุชนท้องถิ่นในการเสริมสร้างสมรรถนะด้าน คลช. (มาตรา 40 และ 41)

 

หมวด 6 การควบคุมผลกระทบต่อ คลช.
* เฉพาะควบคุมสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม [จากนี้ย่อ GMOs] และสิ่งมีชีวิตที่เป็นพันธุ์ต่างถิ่น หรืออื่นๆ ที่อาจคุกคามทรัพยากรชีวภาพ (มาตรา 42)
* ไม่บังคับกับ GMOs ที่่เป็นยาสำหรับมนุษย์และสัตว์ (มาตรา 43)
* ห้ามปลอดปล่อย GMOs เว้นแต่ได้ดำเนินการตามบทบัญญัตินี้ และในบัญชีปลดปล่อย GMOs สู่สิ่งแวดล้อม ที่หน่วยงานรับผิดชอบได้ประกาศแล้ว (มาตรา 45)
* ใครมี GMOs จะต้องควบคุมดูแลให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่หน่วยงานรับผิดชอบประกาศ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ (มาตรา 46)
* ใครมี GMOs จะต้องแจ้งการครอบครองให้กับหน่วยงานรับผิดชอบ (มาตรา 47)
* ใครจะนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่าน GMOs จะต้องแจ้งการครอบครองให้กับหน่วยงานรับผิดชอบ (มาตรา 48)
* ใครจะทดลองใช้ GMOs ในสภาพควบคุมหรือในภาคสนาม ต้องขอใบอนุญาตจากหน่วยงานรับผิดชอบ พร้อมรายงานประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพ (มาตรา 49)
* ถ้าการทดลองใช้ GMOs ทำให้เกิดความเสียหาย หรือมีเหตุที่อาจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพของคนและสัตว์ หรือต่อเศรษฐกิจและสังคม สามารถสั่งยกเลิกการใช้ หรือเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมเงื่อนไขในการใช้ (มาตรา 50)
* ถ้ามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยอมรับในระดับสากลปรากฏแก่หน่วยงานรับผิดชอบภายหลังว่า อาจเกิดอัตรายหรือผลกระทบ ให้สามารถยกเลิกการใช้ได้ รวมทั้งสั่งให้ทำลาย หรือกำจัด GMOs ได้ด้วย (มาตรา 51)
* ขี้นบัญชีปลดปล่อย GMOs สู่สิ่งแวดล้อมได้กับหน่วยงานผู้รับผิดชอบ (มาตรา 52) และยกเลิกได้ถ้ามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยอมรับในระดับสากลปรากฏแก่หน่วยงานรับผิดชอบภายหลังว่า อาจเกิดอัตรายหรือผลกระทบ โดยผู้ครอบครองจะต้องทำลาย/กำจัด GMOs ที่มีอยู่ด้วย (มาตรา 54)
* ถ้าต้องการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับ GMOs ให้แจ้ง [ไม่ต้องขออนุญาต] กับหน่วยงานผู้รับผิดชอบ (มาตรา 53)
* ห้ามปล่อยสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นสู่สิ่งแวดล้อม เว้นแต่ได้ทำตามบทบัญญัติของ พรบ. นี้ โดยขออนุญาตกับหน่วยงานผู้รับผิดชอบ (มาตรา 55)
* ถ้ามีเหตุฉุกเฉินต่อ คลช. ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง รมต. ผู้รับผิดชอบมีอำนาจเข้าดำเนินการและประกาศใช้มาตรการป้องกัน ควบคุม กำจัด ทำลาย รวมทั้งการแก้ไข ฟื้นฟู คลช. แต่ถ้าต้องให้หน่วยงานรัฐหลายหน่วยงานทำงานร่วมกัน ให้นายกรัฐมนตรีเป็นคนสั่งการ (มาตรา 56)

 

หมวด 7 ความรับผิดชอบทางแพ่ง
* คนที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อ คลช. ทรัพย์สิน เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และความมั่นคงทางอหาร จาก GMOs หรือสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น โดยจงใจ หรือประมาทเลินล่อ จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการกำจัด เคลื่อนย้าย การฟื้นฟูทรัพยากรชีวภาพ และ คลช. การที่รัฐเข้าไปช่วยเหลือบุคคล/ทรัพย์สินของบุคคล การประเมินความเสียหายและการเยียวยา ฯลฯ (มาตรา 57)

 

หมวด 8 บทกำหนดโทษ
โทษทางปกครองมีทั้งที่เป็นค่าปรับ (ตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท) และโทษอื่นๆ (มาตรา 58 – 62)
โทษทางอาญา มีทั้งโทษจำคุกและปรับ (มาตรา 63 – 69)


 

หรือถ้าสนใจ ดาวน์โหลดร่าง พรบ. ได้ที่ [link]