เยี่ยมกิจกรรมโครงการนำร่อง เครือข่ายภาคตะวันออก จันทบุรี

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2553 โครงการทางเลือกพืชอาหารแป้ง (พืชหัวใต้ดิน) เพื่อความมั่นคงด้านอาหารของชุมชน จัดสัมมนา โลกร้อนกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและผลกระทบต่อภาคเกษตร

มีผู้เข้าร่วม ประมาณ 25 คน เป็น จนท องค์การบริหารส่วนตำบลและผู้ใหญ่บ้าน กำนันอปพร และเกษตรกรชาวสวนยาง ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี

ทั้งนี้ คุณวิฑูรย์ ปัญญากุล ได้บรรยายเรื่อง โลกร้อนกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและผลกระทบต่อภาคเกษตร

เกษตรกร ส่วนใหญ่ (เกือบทั้งหมด) มีอาชีพ ทำสวนยางพารา และ สวนผลไม้

ผู้เข้าร่วม กิจกรรม อาศัยอยู่ในพื้นที่ มากกว่า  10 ปี บางคนอาศัยอยู่ในพื้นที่ตั้งแต่ปี 2511

กิจกรรมระดมความคิดเห็นในภาคบ่าย ทางเวที ได้ใช้เทคนิคหรือเครื่องมือการระดมความคิดเห็นที่ทางโครงการสนับสนุนการปรับตัวฯ มูลนิธิสายใยแผ่นดิน จัดทำขึ้น

ประเด็นปัญหาหลักเกี่ยวกับภูมิอากาศในพื้นที่ นี้ คือ ปัญหาฝนแล้งยาวนาน ฝนมาล่าช้า อากาศหนาวสั้นลง  ส่วนปัญหาน้ำท่วมไม่มี เป็นเพียงน้ำหลาก ระยะเวลาสั้นๆ ไม่กระทบต่อวิถีการทำมาหากิน  แต่ ฝนแล้งนั้น ส่งผล จนทำให้เกษตรกร ต้องเปลี่ยนวิถีการผลิต เดิมทำสวนผลไม้ มาเป็น สวนยางพารา เนื่องจากเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อยกว่า  แต่เมื่อเปลี่ยนมา ปลูกยางพาราแล้ว กลับ ส่งผลต่อแหล่งน้ำผิวดิน ในลักษณะการซึมของน้ำใต้ดิน ที่มีศักยภาพการซึมผ่านและกักเก็บน้ำในดินได้น้อยลง  เนื่องจาก ขาดต้นไม้ใหญ่ รากลึก ในการเกาะเกี่ยวดิน เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ ถูกเปลี่ยนไปปลูกยางพาราที่มีรากตื้น และไม่อุ้มน้ำ