ติดตามโครงการนำร่องการปรับตัวที่ควนขนุน พัทลุง

โครงการ สนับสนุนการปรับตัวฯ มูลนิธิสายใยแผ่นดิน ได้ลงพื้นที่บ้านท่าช้าง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 เพื่อติดตามโครงการนำร่องและได้ร่วมประชุมจากตัวแทนชุมชน 12 คน จากคณะกรรมการเครือข่ายชาวนาพัทลุงและเจ้าหน้าที่ ซึ่งทางเจ้้าหน้าที่และผู้นำชาวบ้านได้สรุปภาพรวมของหมู่บ้านและปัญหาผล กระทบจากน้ำท่วม ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี

ในอดีต แม้ว่าจะมีน้ำท่วมทุกปี ในช่วงประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม  และ ทุก 5 – 7 ปี จึงจะเกิดน้ำท่วมใหญ่ครั้งหนึ่ง แต่ในระยะหลัง มีน้ำท่วมใหญ่เกิดขึ้นเกือบทุกปี แม้ว่าจะไม่สูง แต่ท่วมนาน ส่งผลให้ชาวนาต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำนาใหม่ โดยเกษตรกรหลายรายได้หันไปเลือกใช้พันธุ์ข้าวปรับปรุง แทนที่จะใช้พันธุ์ข้าวพื้นบ้านเหมือนในอดีต

ในโครงการนำร่องนี้ เป็นการทดลองหาพันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่เหมาะสม โดยโครงการจะทำการทดสอบปลูกพันธุ์ข้าวเปรียบเทียบกันในแปลงในหมู่บ้าน เพื่อที่จะดูการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต รวมทั้งจะมีการให้ชาวบ้านได้มีส่วนในการเรียนรู้เกี่ยวกับพันธุ์ข้าว พื้นบ้านสายพันธุ์ต่างๆ ซึ่งจะใช้เกณฑ์การคัดเลือกในเรื่องคุณภาพข้าวด้วย เช่น มีรสชาติดี ผู้บริโภคในท้องถิ่นนิยม และราคาดี เป็นต้น

ใน พื้นที่ให้ข้อมูลว่า มีหน่วยงานภาคีที่ร่วมดำเนินงานกับโครงการนำร่องฯ 3 หน่วยงานหลัก ได้แก่ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ที่ให้การสนับสนุนพันธุ์ข้าวสำหรับการทดลองบางส่วน มหาวิทยาลัยทักษิณ  และเครือข่ายเกษตรทางเลือกพัทลุง

บทเรียนเบื้องต้นจากการทำกิจกรรมใน ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา คือ การสร้างความตระหนักให้กับชาวบ้านในชุมชนเป็นเรื่องยากแต่มีความสำคัญ และโครงการต้องการการสนับสนุนในการทำงาน หลายด้าน ดังนี้

  1. ข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคเกษตรอินทรีย์เพิ่มเติม เพื่อทำการขยายผลการดำเนินงาน
  2. การวิเคราะห์สภาพอากาศ และข้อมูลการพยากรณ์สภาพอากาศล่วงหน้า เช่น ปริมาณฝน อุณหภูมิ เพื่อเตรียมการปรับตัวล่วงหน้า
  3. ข้อมูลเกี่ยวกับโรคแมลงสำหรับการทำนา