โครงการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัวในลุ่มน้ำโขง

เป็นส่วนหนึ่งของโครงการกิจกรรมการปรับตัวตอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Adaptation Initiative) ที่ริเริ่มโดยคณะกรรมาธิการแมน้ำโขง (Mekong River Commission) โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เพื่อการสรางความรูและพัฒนาศักยภาพของหนวยงานระดับชาติและหนวยงานที่เกี่ยวของในการคาดการณการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การประเมินผลกระทบ การวางแผนการปรับตัว การผนวกกิจกรรมการปรับตัวตอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับการวางแผนพัฒนาในระดับทองถิ่น ระดับชาติ และระดับลุมน้ำ ในประเทศสมาชิกลุ่มแม่น้ำโขง  สําหรับประเทศไทย คณะกรรมาธิการแมน้ำโขงและคณะกรรมาธิการแมน้ำโขงประจําประเทศไทย ไดคัดเลือกลุมน้ำยัง ซึ่งเปนลุมน้ำยอยของลุมน้ำชี เปนพื้นที่ดําเนินการศึกษา โดยมีกรอบการศึกษาและกิจกรรมใน 7 ด้าน คือ

  1. การศึกษาทบทวนนโยบายและกิจกรรมที่เกี่ยวของกับการปรับตัวตอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับชาติ ระดับภูมิภาค ระดับจังหวัด และระดับทองถิ่น
  2. การจัดประชุมปรึกษาหารือหนวยงานที่เกี่ยวของทั้งระดับภูมิภาค ระดับจังหวัด และระดับทองถิ่น
  3. การพัฒนาระบบฐานขอมูลลุมน้ํายัง ขอมูลทรัพยากรธรรมชาติ ขอมูลสภาพภูมิอากาศ ขอมูลดานเศรษฐกิจสังคม และการพัฒนานวัตกรรมการประยุกตใชเทคโนโลยีที่เหมาะสม ในการเตือนภัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  4. การศึกษาความเปราะบาง ความเสี่ยง และกิจกรรมการปรับตัวของชุมชนในพื้นที่เปาหมายโครงการ
  5. การศึกษากิจกรรมทางเลือกการปรับตัวที่เหมาะสมภาคเกษตรตอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  6. การเผยแพรขอมูลและและจัดตั้งชุมชนสาธิตตัวอยางกิจกรรมการปรับตัวระดับชุมชน
  7. การเผยแพรขอมูลเพื่อการพัฒนานโยบายและแผนเพื่อการปรับตัวตอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ผศ.ดร. ยรรยงค์ อินทร์ม่วง และคณะ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นทีมงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการนี้ โดยมีชื่อโครงการ “โครงการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัวในลุมน้ำโขง ในพื้นที่สาธิตกระบวนการวางแผนการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ลุมน้ำนํารองลุมน้ำยัง ประเทศไทย”

 

อ่านบทสรุปผู้บริหารของรายงานฉบับสมบูรณ์ได้ที่ห้องสมุดกรีนเนท