หน่วยงานวิชาการ รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เนื้อหา

มีหน่วยงานวิชาการหลายแห่งในประเทศไทย ที่งานเกี่ยวกับโลกร้อนและการปรับตัว  ส่วนใหญ่จะเป็นองค์กรที่ทำงานวิจัย แต่ก็มีองค์กรที่ทำในเชิงปฏิบัติการเช่นเดียวกัน

 

Southeast Asia START Regional Center

เป็นศูนย์ (node) งานวิจัยระดับภูมิภาค ของเครือข่ายใหญ่ระดับสากลที่มีชื่อว่า Global Change SysTem for Analysis, Research and Training (START)  เครือข่ายนี้เป็นความร่วมมือของหลายหน่วยงาน คือ International Geosphere-Biosphere Programme (IGBP), International Human Dimension Programme (IHDP), และ World Climate Research Programme (WCRP)

START มีงานวิจัยและฝึกอบรมหลายด้าน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ  กิจกรรมของ START Regional Center นี้ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะงานวิจัยด้านการศึกษาสภาพภูมิอากาศในอนาคตของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลกระทบ และความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

ติดต่อได้ที่ www.start.or.th

< กลับไปด้านบน >

ศูนย์ประสานงานและพัฒนางานวิจัยด้านโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ศูนย์ประสานงานและพัฒนางานวิจัยด้านโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Thailand Reserach Fund’s Reserearch and Development and Co-ordination Center for Global Warming and Climate Change – T-GLOB) จัดตั้งขึ้นโดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดย สกว. ได้สนับสนุนการวิจัยในชุดโครงการ “ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงและความแปรปรวนสภาพภูมิอากาศต่อประเทศไทย” ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2549 ที่มีสำนักประสานงานที่บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยในช่วงระยะที่ 1 (พ.ศ.2549-2550) ได้สนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับการสร้างภาพจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตของประเทศไทย และในระยะที่ 2 (พ.ศ. 2550-2552) ได้ขยายการสนับสนุนเกี่ยวกับการศึกษาความอ่อนไหวและการตอบสนองของสาขาต่างๆ คือ เกษตร แหล่งน้ำ และภัยพิบัติธรรมชาติ  และในปี พ.ศ. 2552 ทาง สกว. จึงได้ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดตั้ง “ศูนย์ประสานงานและพัฒนางานวิจัยด้านโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ศูนย์วิจัยโลกร้อน”

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://climatechange.jgsee.org
< กลับไปด้านบน >

โครงการผลกระทบของสนธิสัญญาและมาตรการต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการลดและแลกเปลี่ยนสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ต่อการค้าและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

เป็นโครงการของนักวิชาการจากหลายสถาบัน โดยได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อทำการศึกษาผลกระทบของพิธีสารเกียวโตและมาตรการกีดกันทางการค้าที่คาดว่าจะ ใช้ประเด็นการลดก๊าซเรือนกระจกเป็นเครื่องมือใช้ในการกีดกันการนำเข้าสินค้า จากประเทศไทย เพื่อใช้เป็นแนวทางการกำหนดนโยบาย หรือมาตรการตั้งรับที่เหมาะสม เพื่อลดผลกระทบในเชิงลบ มิให้มีผลกระทบต่อกิจกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และนำเสนอแผนวิจัยและแนวทางการดำเนินงานและในระยะ 2-3 ปี เพื่อรองรับการเตรียมพร้อมของประเทศ เพื่อใช้เป็นข้อมูลเรื่องเครื่องมือ เพื่อกำหนดทิศทางหรือมาตรการเชิงนโยบายที่เหมาะสมของประเทศไทย เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวในอนาคต

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.jgsee.kmutt.ac.th/greenhouse/

< กลับไปด้านบน >

โครงการพัฒนาความรู้และยุทธศาสตร์ความตกลงพหุภาคีด้้านสิ่งแวดล้อมและยุทธศาสตร์ลดโลกร้อน

เป็นโครงการวิจัยของนักวิชาการจากหลายสถาบัน ภายใต้การประสานงานของสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยเน้นที่การสร้างองค์ความรู้ในเชิงลึกเกี่ยวกับประเด็นการเจรจาที่สำคัญและมีผลกระทบเกี่ยวโยงกับประเทศไทย เพื่อนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในการเจรจาและการกำหนดจุดยืนของไทย และการดำเนินงานภายในประเทศเพื่อรองรับการจัดการแก้ไขปัญหาโลกร้อน

โครงการวิจัยนี้ ยังจัดให้มีเวทีกลางสำหรับภาคประชาสังคมในการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาโลกร้อน ตลอดจนกฎระเบียบหรือมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาโลกร้อน โดยใช้ชื่อเวทีกลางดังกล่าวว่า “Global Warming Forum”

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.measwatch.org

< กลับไปด้านบน >

Regional Climate Change Adaptation Knowledge Platform for Asia

เป็นองค์กรเครือข่ายที่จัดตั้งขึึ้น เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศในเขตภูมิภาคเอเชียในการปรับตัว ทั้งในด้านของงานวิจัย การจัดทำนโยบย และการพัฒนาศักยภาพด้านอื่นๆ ทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศ และภูมิภาคเอเชีย โดยมีเป้าหมายหลักในการสร้างกลไกระดับประเทศและภูมิภาค ที่ช่วยสนับสนุนให้มีการผนวกเรื่องการปรับตัวเข้าไปในนโยบายการพัฒนาของประเทศ/ภูมิภาค รวมทั้งการวางแผนและกระบวนการทำงานต่างๆ ตอลดจนการพัฒนาสถาบันและการวิจัย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องนี้

เครือข่ายนี้ มีสำนักงานเลขาอยู่ที่ AIT-UNEP Regional Resource Centre for Asia and the Pacific (RRC.AP) ซึ่งตั้งอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asin Institute of Technology)

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.climateadapt.asia

< กลับไปด้านบน >