IFOAM กระตุ้นให้ขยับเกษตรอินทรีย์เข้าสู่ยุคที่ 3 ที่เน้นความยั่งยืนของการเกษตรและการบริโภค
ยุคบุกเบิกของเกษตรอินทรีย์ ที่ได้เริ่มต้นเกือบหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1920 เป็นยุคของนักคิดและนักปรัชญา ที่ได้วางรากฐานของแนวคิดเรื่องเกษตรอินทรีย์ เช่น Albert Howard (อังกฤษ), Anna Primavesi (บราซิล), Bashkar Save (อินเดีย), Efraim Hernandez Xolocotzi (เม็กซิโก), Eve Balfour (อังกฤษ), Hans & Maria Muller (สวิสเซอร์แลนด์), Jerome Rodale (สหรัฐอเมริกา), Rachel Carson (สหรัฐอเมริกา), Masanobu Fukuoka (ญี่ปุ่น), and Rudolf Steiner (เยอรมัน, ออสเตรีย, สวิสเซอร์แลนด์)  ผู้บุกเบิกเกษตรอินทรีย์ในยุคต้นนี้ได้พยายามแสดงให้สังคมโลกได้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างการดำเนินชีวิตของพวกเรา การบริโภคอาหารของเรา และการผลิตอาหารของเรานั้น เชื่อมโยงกันกับสุขภาพของมนุษย์เราและสุขภาพของโลกเราอย่างไร

ยุคที่ 2 ของเกษตรอินทรีย์เริ่มต้นเมื่อมีการจัดตั้งสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ IFOAM ในปี ค.ศ. 1972 ซึ่งได้ทำให้มีการริเริ่มจัดทำมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และระบบการตรวจรับรอง ซึ่ง ณ ปัจจุบัน มีประเทศต่างๆ มากกว่า 82 ประเทศทั่วโลก ที่ได้รัฐบาลได้จัดทำมาตรฐานและกฏระเบียบเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งมีการตรวจรับรองมาตรฐานครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 487.5 ล้านไร่ ใน 170 ประเทศ

แต่ในขณะเดียวกัน ปัญหาความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ก็ขยายตัวและมีความเร่งด้วนมากขึ้น  IFOAM เชื่อว่า เราจะต้องเร่งกระบวนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ให้ขยับเข้าสู่ยุคที่ 3 ยุค ที่ให้ความสำคัญกับความยั่่งยืนทางนิเวศ (ecologically sound) ความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ (economically viable) ความเป็นธรรมทางสังคม (socially just) ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (culturally diverse) และความโปร่งใสในการผลิต (transparently accountable) ซึ่งเป็นที่มาของการจัดกระบวนการระดมสมองภายใต้เครือข่าย Sustainable Organic Agriculture Action Network (SOAAN) ที่นำโดย IFOAM

ใครสนใจรายละเอียดเพิ่ม อ่านรายละเอียดและดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ [link]