ผู้บริโภคออร์แกนิคในประเทศไทย: บทวิเคราะห์
จากการทบทวนเอกสารงานวิจัยต่างๆ พบงานวิจัยที่เกี่ยวกับผู้บริโภคออร์แกนิคในประเทศไทย 8 งานวิจัย ซึ่งมีช่วงระยะเวลาในการศึกษาที่แตกต่างกัน รวมทั้งมีขอบเขตในการสุ่มตัวอย่างผู้บริโภคที่แตกต่างกันดังนี้

 

ปี พ.ศ. ขอบเขตการศึกษา จำนวนสุ่มสำรวจ งานวิจัยโดย

2542-43

เชียงใหม่

390

Sangkumchaliang and Huang (2012)

2547

กรุงเทพฯ

400

รัชดา สิริภาณุพงศ (2547)

2548

กรุงเทพฯ

110

กัลยาณี กุลชัย และพีรชัย กุลชัย (2549)

2548

กรุงเทพฯ

848

Roitner-Schobesberger, Darnhofer, Somsook, Vogl (2008)

2554

กรุงเทพฯ

385

Till Ahnert (2011)

2554

กรุงเทพฯ

23

มูลนิธิสายใยแผ่นดิน (2554)

2556

กรุงเทพฯ

650

ศูนย์วิจัยเอแบค (2556)

2556

กรุงเทพฯ

400

ปิลันธนา แป้นปลื้ม (2557)

 

งานศึกษาของ Sangkumchaliang and Huang (2012) เป็นการศึกษาในช่วงระหว่างปลายปี 2542 ต่อต้นปี 2543 โดยการสุ่มสัมภาษณ์ผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 390 คน ผลการศึกษาพบว่า 36.0% ของผู้ที่สุ่มสำรวจไม่เคยได้รับรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ 30.2% ระบุว่า เคยได้ยิน แต่ไม่เคยซื้อ และ 36.1% ที่เคยได้ยินและซื้อสินค้าออร์แกนิค ปัจจัยส่วนตัว/ครอบครัวที่สำคัญของผู้ซื้อ คือ เพศ ระดับการศึกษา การมีเด็กในครอบครัว ในขณะที่ระดับรายได้ไม่ค่อยมีความสำคัญในการเลือกซื้อเท่าใดนัก และเหตุผลสำคัญในการเลือกซื้อสินค้าออร์แกนิคก็คือ ปลอดสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (90%) มีความปลอดภัยกว่าเพราะมีการตรวจสอบรับรอง (88%) มีความสดกว่า (64%) และมีรสชาติดีกว่า (50%) แต่ประเด็นที่น่าเป็นห่วงมากก็คือ 71% ของผู้บริโภคที่บอกว่า เคยได้ยินเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ยอมรับว่า รู้เรื่องเกษตรอินทรีย์น้อยมาก รวมทั้งมีผู้บริโภค 26.8% ที่คิดว่า ไม่มีความแตกต่างระหว่างสินค้าออร์แกนิคและสินค้าปลอดภัย และ 23.4% ไม่ทราบว่ามีความแตกต่างระหว่างสินค้า 2 ประเภทนี้ หรือในอีกนักหนึ่ง มีผู้บริโภคเพียงครึ่งหนึ่ง (49.8%) เท่านั้นที่รู้ว่ามีความแตกต่างระหว่างสินค้าออร์แกนิคและสินค้าปลอดภัย

 

ในงานศึกษาของรัชดา สิริภาณุพงศ (2547) ที่ทำการสำรวจผู้บริโภคผักออร์แกนิคและผักปลอดภัยจากสารพิษจำนวน 400 คน ในเขตกรุงเทพ พบว่า ปจจัยส่วนตัว เช่น อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ รายไดสวนตัว รายไดครอบครัว ความรูและทัศนคติเกี่ยวกับผักอินทรีย มีความสัมพันธกับการบริโภคผักอินทรียอยางมีนัยสําคัญ ส่วนปจจัยดานการตลาดที่มีความสําคัญตอการเลือกซื้อนั้น ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์มีความสำคัญมากที่สุด

 

กัลยาณี กุลชัย และพีรชัย กุลชัย (2549) ทำการสำรวจเฉพาะผู้บริโภคผักออร์แกนิค 110 คน ในเขตกรุงเทพ พบว่า ผู้บริโภคจะเลือกซื้อผักมาประกอบอาหารเองเป็นประจำ และส่วนใหญ่เป็นผู้บริโภคที่เลือกซื้อผักออร์แกนิคมานานกว่า 4 ปี โดยจะเลือกซื้อผักอินทรีย์ที่มีฉลากแสดงว่าเป็นผักอินทรีย์เป็นลำดับแรก และเหตุผลสามลำดับแรกของการเลือกซื้อผักอินทรีย์ คือ ความปลอดภัยจากสารเคมี สุขภาพของครอบครัว และเชื่อว่าผักอินทรีย์สะอาด

 

การศึกษาของ Roitner-Schobesberger, Darnhofer, Somsook, Vogl (2008) ที่ทำการสำรวจผู้บริโภค 848 คนในกรุงเทพฯ และพบว่า ผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาสูงและมีรายได้สูง (ซึ่งเป็นความสัมพันธ์กันเองอยู่แล้ว) จะมีแนวโน้มในการเลือกซื้ออาหารออร์แกนิคมากกว่า รวมทั้งผู้บริโภคที่มีอายุมาก รวมทั้งมีครอบครัวที่มีเด็ก ผู้บริโภคกว่าครึ่งหนึ่งที่รู้จักตรารับรองของผักปลอดภัยจากสารพิษ และมีเพียง 10% ที่รู้จักตรารับรองเกษตรอินทรีย์ แต่ที่น่าตกใจก็คือ มีผู้บริโภคมากกว่าครึ่งหนึ่งที่คิดว่า ตรารับรองอาหารอนามัยและปลอดภัยจากสารพิษก็คือตรารับรองเกษตรอินทรีย์ ซึ่งสอดคล้องกับผลของการสำรวจความเข้าใจของผู้บริโภค ที่ 46% ของผู้บริโภคเข้าใจว่า ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์และปลอดภัยจากสารพิษนั้นไม่แตกต่างกัน

 

ส่วนการศึกษาของ Till Ahnert (2011) จาก German-Thai Chamber of Commerce ที่ได้สัมภาษณ์ผู้บริโภค 385 คน ในห้างท๊อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ตและเซนทรัลฟูดฮอล พบว่า ผู้บริโภคราว 62% เคยได้ยินเกี่ยวกับสินค้าออร์แกนิค และ 80% ของผู้บริโภคในกลุ่มนี้ เลือกซื้อสินค้าออร์แกนิค โดยกว่า 90% เลือกซื้อเพราะเหตุผลด้านความปลอดภัยในการบริโภคอาหารออร์แกนิค ซึ่งเหตุผลนี้เป็นปัจจัยสำคัญของผู้บริโภคในทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะกลุ่มที่มีระดับรายได้ที่ต่างกัน อายุ สถานภาพการแต่งงาน และเพศ ส่วนเหตุผลลำดับรองลงมาในการเลือกซื้ออาหารออร์แกนิคคือเรื่อง การรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้สุขภาพดี มั่นใจในสินค้าเกษตรอินทรีย์ และเหมาะกับการปรุงอาหารที่บ้าน โดยผู้บริโภคออร์แกนิคจำแนกแยกแยะผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคกับผลิตภัณฑ์ทั่วไปผ่านทางป้ายสินค้าในร้านขายปลีก การแสดงฉลาก และตรารับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

 

ในการสำรวจความรับรู้ของพนักงานในเครือบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ที่สนใจในเรื่องสุขภาพ จำนวน 23 คน 25 มีนาคม 2554 โดยความร่วมมือระหว่างมูลนิธิปูนซิเมนต์ไทยและมูลนิธิสายใยแผ่นดิน พบว่า มีผู้บริโภคที่สนใจในเรื่องสุขภาพเพียง 19.3% ที่เข้าใจเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์อย่างถูกต้อง ผู้บริโภคส่วนใหญ่เข้าใจว่า อาหารปลอดภัย (เช่น เกษตรปลอดสารพิษ ไร้สารพิษ ปลอดภัยจากสารพิษ ปลอดสารเคมี) ไม่ต่างไปจากเกษตรอินทรีย์ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่สับสนระหว่างตรารับรองมาตรฐาน โดยเฉพาะตรารับรองอาหารปลอดภัย (ตรารับรอง Q) ที่ผู้บริโภคเกือบครึ่งหนึ่งเข้าใจว่าเป็นตรารับรองเกษตรอินทรีย์ ส่วนเหตุผลในการเลือกซื้ออาหารออร์แกนิคที่สำคัญคือ ความปลอดภัยด้านสารเคมีการเกษตร ความปลอดภัยด้านฮอร์โมน/ยาปฏิชีวนะ (ปศุสัตว์ สัตว์ปีก สัตว์น้ำ) และเพราะอาหารออร์แกนิคมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่า โดย 39% ของผู้บริโภคจะซื้ออาหารออร์แกนิคเดือนละ 1 – 2 ครั้ง และกว่าครึ่งของผู้บริโภคได้เลือกซื้ออาหารออร์แกนิคเพิ่มขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา

 

ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ปี 2556 ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ (SIMBA) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัย (ไทยรัฐออนไลน์ 2556 และ Digital Media 2556) ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพที่มีอายุมากกว่า 18 ปี จำนวน 650 ตัวอย่าง ภายใต้การศึกษา “ออร์แกนิคไลฟ์ในสไตล์ของคนกรุง” และพบว่า มีผู้บริโภคมากถึง 86.9% ที่ระบุว่า เคยบริโภคอาหารออร์แกนิค โดย 21.7% รับประทานเป็นประจำหรือทุกวัน 42.8% รับเป็นทานเป็นบางครั้ง และ 35.5% นานๆ ครั้ง นอกจากนี้ 56.3% ของกลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจว่า อาหารออร์แกนิคเป็นอาหารที่ไม่มีสารเคมีปนเปื้อนเจือปนและปลอดภัยกับร่างกาย แต่ขณะเดียวกัน เหตุผลหลักในการเลือกซื้ออาหารออร์แกนิคกลับเป็นเพราะคุณค่าทางอาหารที่ครบถ้วน (69.8%) เพื่อสุขภาพของตนและคนในครอบครัว (55.2%) และมีรสชาติที่อร่อย (28.3%) โดยสินค้าที่ผู้บริโภคในกลุ่มตัวอย่างนิยมซื้อมากที่สุดคือ ผักและผลไม้ (87.5%) ไข่หรือเนื้อสัตว์ (32.5%) นมหรือเครื่องดื่ม (21.8%) และอาหารแห้ง (11.1%) และช่องทางการขายในกลุ่มไฮเปอร์มารเก็ตเป็นที่ที่ผู้บริโภคเลือกไปซื้อหาอาหารออร์แกนิคมากที่สุด (36.0%) รองลงมาคือ ตลาดสด (21.5%) ซุเปอร์มาร์เก็ต (18.7%) ร้านเพื่อสุขภาพ (12.9%) และร้านสะดวกซื้อ (10.9%) ส่วนสื่อที่ผู้บริโภคในกลุ่มตัวอย่างได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาหารออร์แกนิคมากที่สุดคือ สื่อโทรทัศน์ (70.6%) นิตยสาร (46.5%) และหนังสือพิมพ์ (34.5%)

 

ปิลันธนา แป้นปลื้ม (2557) ได้สุ่มสัมภาษณ์ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 400 คน เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ และพบว่า ผู้บริโภคที่สุ่มนิยมซื้อผักสด โดยจะซื้อประมาณ 3 – 4ชนิดต่อครั้ง และมีค่าใช้จ่ายในการซื้อไม่เกิน 499 บาทต่อครั้ง โดยมักซื้อสินค้าในวันอาทิตย์ที่ซูเปอร์มาร์เก็ต เฉลี่ย 2 – 4 ครั้งต่อเดือน ใช้ระยะเวลาในการซื้อไม่เกิน 30 นาที และปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ และระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อ

 

เมื่อนำรายละเอียดผลการศึกษาของงานวิจัยข้างต้นนี้มาเปรียบเทียบกัน ก็จะสามารถเห็นภาพบางอย่างของผู้บริโภคออร์แกนิคไทยในปัจจุบันได้ดังนี้

 

(ก) ปัจจัยส่วนตัวที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าออร์แกนิคนั้น ดูเหมือนว่า ปัจจัยเรื่องการศึกษาและอายุเพียง 2 ปัจจัยที่น่าจะมีผลในการตัดสินใจเลือกซื้อและบริโภค ในขณะที่ปัจจัยเรื่องรายได้ อาชีพ และการมีเด็กในครอบครัวยังไม่ชัดเจนมากนัก ส่วนขนาดของครอบครัวและการมีผู้ป่วยในครอบครัว ดูเหมือนจะไม่ได้เป็นปัจจัยส่วนตัวที่สำคัญแต่อย่างใด

 

อายุ อาชีพ การศึกษา รายได้ ขนาดของครอบครัว มีเด็กในครอบครัว มีผู้ป่วยในครอบครัว
Sangkumchaliang and Huang (2012) มีนัยสำคัญมาก มีนัยสำคัญน้อย มีนัยสำคัญมาก
กัลยาณี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี น้อยมาก
รัชดา สิริภาณุพงศ (2547) มี มี มี มี
Roitner-Schobesberger, Darnhofer, Somsook, Vogl (2008) มี มี มี มีน้อย
Till Ahnert (2011) ไม่มี ไม่มี
ปิลันธนา แป้นปลื้ม (2557) มี ไม่มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี

 

(ข) ผู้บริโภคมากกว่าครึ่งหนึ่ง และอาจมากถึงสองในสาม ที่น่าจะรู้จักและเคยได้ยินเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ แต่มีเพียงหนึ่งในสามหรือครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคเหล่านี้ที่เลือกซื้อสินค้าออร์แกนิค ยิ่งไปกว่านั้น มีไม่ถึงครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคที่ซื้อ ที่ได้เลือกซื้อสินค้าออร์แกนิคจริง เพราะส่วนใหญ่มีความเข้าใจผิดว่า เกษตรดีที่เหมาะสม/ผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยไม่แตกต่างไปจากเกษตรอินทรีย์

 

ขอบเขต

การศึกษา

สัดส่วนผู้รู้จักเกษตรอินทรีย์ สัดส่วนผู้เลือกซื้อ

อาหารออร์แกนิค

สัดส่วนผู้บริโภคเข้าใจถูกต้อง งานวิจัยโดย

เชียงใหม่2542-43

90%

36.1%

49.8%

Sangkumchaliang and Huang (2012)

กรุงเทพฯ 2547

34.3%

รัชดา สิริภาณุพงศ (2547)

กรุงเทพฯ 2548

67%

39.3%

54%

Roitner-Schobesberger, Darnhofer, Somsook, Vogl (2008)

กรุงเทพฯ 2554

62%

49.6%

Till Ahnert (2011)

กรุงเทพฯ 2554

19.3%

มูลนิธิสายใยแผ่นดิน (2554)

กรุงเทพฯ 2556

86.9%

ศูนย์วิจัยเอแบค (2556)

(ค) เหตุผลในการเลือกซื้ออาหารออร์แกนิคจะเป็นเหตุผลในเรื่องของสุขภาพเป็นหลัก แต่เหตุผลรองลงมาดูเหมือนจะมีความแตกต่างกันมากของในแต่ละกรณีศึกษา

 

 

สุขภาพ สิ่งแวดล้อม กระแสนิยม บริโภคตามคนใกล้ชิด ดีต่อ

ผู้ผลิต

โภชนา

การ

ความสด รสชาติดี
Sangkumchaliang and Huang (2012)

97%

30%

64%

50%

กัลยาณี

ใช่

ใช่

รัชดา สิริภาณุพงศ (2547)

70.1

7.3

17.5

25.5

Roitner-Schobesberger, Darnhofer, Somsook, Vogl (2008)

ใช่

Till Ahnert (2011)

ใช่

ใช่

ศูนย์วิจัยเอแบค (2556)

55.2%

69.8%

28.3%