คาร์บอนฟุตปริ้นท์ของข้าวสารหอมมะลิ

คาร์บอนฟุตปริ้นท์ของข้าวสารหอมมะลิ

ในผลิตภัณฑ์ข้าวสารหอมมะลิ การปลูกข้าวเป็นขั้นตอนที่มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด จากการศึกษาพบว่า  ผลิตภัณฑ์ข้าวสารหอมมะลิมีค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ข้าวสารหอมมะลิคิดเป็น 38.7 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยการปลูกข้าวเป็นขั้นตอนที่มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์รวมส่วนการผลิตถุงCPP/LLDPE และการขนส่งไปยังต่างประเทศมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยมาก

ในการศึกษาได้เลือกเอาผลิตภัณฑ์ข้าวสารหอมมะลิพันธ์ุขาวดอก-มะลิ105 100% ชั้น1 (AA) บรรจุในถุงCPP/LLDPE ขนาดบรรจุ5 กิโลกรัมเป็นผลิตภัณฑ์ที่จัดจำหน่ายให้กับผู้ซื้อที่เป็นองค์กรธุรกิจดังนั้นขอบเขตการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์จึงกำหนดเป็นระหว่างองค์กรธุรกิจหรือB2B (Business to Business) ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การปลูกข้าวการสีข้าวการผลิตภาชนะบรรจุและการจัดจำหน่ายไปยังผู้ซื้อตลอดจนการขนส่งที่เกี่ยวข้องในทุกขั้นตอน  ซึ่งมีการรวบรวมข้อมูลบัญชีรายการสิ่งแวดล้อมได้แก่ปริมาณสารขาเข้าและปริมาณสารขาออกในแต่ละกิจกรรมการผลิตซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เมล็ดพันธ์ุการเตรียมที่ดินการทำนาการใส่ปุ๋ยในแปลงนาหลังจากออกเมล็ดและหลังข้าวออกรวงการเก็บเกี่ยวข้าวและการจัดการฟางข้าวหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวในการศึกษานี้ทำการตรวจวัดปริมาณการปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์และก๊าซมีเทนจากการปลูกข้าวตลอดฤดูกาลตั้งแต่เดือนกรกฎาคมพ.ศ. 2551 ถึงเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2552 โดยดำเนินการเก็บตัวอย่างจากแปลงนาจำนวน2 แปลงจากแหล่งปลูกข้าวหลักที่อำเภอสุวรรณภูมิจังหวัดร้อยเอ็ดซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีการปลูกข้าวอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลามากกว่า20 ปีในส่วนโรงสีรวบรวมข้อมูลบัญชีรายการสิ่งแวดล้อมจากโรงสีจำนวน5 แห่งซึ่งครอบคลุมมากกว่า50 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณวัตถุดิบ(ข้าว-กล้อง/ข้าวขาว) ที่ใช้ในการผลิตประจำปีที่นำไปขัดสีต่อเพื่อให้ได้ข้าวที่มีความขาวระดับเกรดเอเอและบรรจุลงในถุงCPP/LLDPE และดำเนินการรวบรวมข้อมูลบัญชีรายการสิ่งแวดล้อมจากโรงงานผลิตถุงCPP/LLDPE

คาร์บอนฟุตพริ้นท์= ปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์x ค่าศักยภาพในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเทียบเท่า

แนวทางเพื่อลดค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์

ในการศึกษาพบว่า ค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ข้าวสารหอมมะลิคิดเป็น 38.7 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยการปลูกข้าวเป็นขั้นตอนที่มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์รวมส่วนการผลิตถุงCPP/LLDPE และการขนส่งไปยังต่างประเทศมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยมาก  ดังนั้นจึงควรหาแนวทางการจัดการเพื่อลดค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์โดยมุ่งเน้นการพัฒนาพันธ์ุข้าวที่ไม่ต้องปลูกในระบบน้ำท่วมขังการควบคุมปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีการจัดการระหว่างการปลูกการปล่อยน้ำออกจากนาข้าวในช่วงก่อนข้าวออกรวงตลอดจนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวโดยควรนำฟางข้าวออกจากนาข้าวให้เหลือแต่ตอซังต่อไป

 

ที่มา: งานวิจัย “คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการผลิตข้าวสารหอมมะลิ (Carbon Footprinting of Rice Products)” โดย ดรรัตนาวรรณ  มั่งคั่ง, รศ.ดร.แชบเบียร์ กีวาลา รศ.ดร.งามทิพย์ ภู่วโดม รศ.ดร.สิรินทรเทพ เต้าประยูร [download]